จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อรัฐบาลบังคับให้เกษตรกรมาปลูกพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ทั้งประเทศ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ที่ผ่ามามี 2 ตัวอย่างที่จะตอบคำถามที่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลบังคับให้เกษตรกรมาปลูกพืชในระบบเกษตรอินทรีย์นี้ทั้งประเทศได้ คือ ตัวอย่างจากรัฐสิกขิมประเทศอินเดียและศรีลังกา

ในปี พ.ศ. 2561 รัฐเล็ก ๆ ในอินเดีย ชื่อสิกขิม ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ให้เป็นรัฐอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์แห่งแรกของโลก และได้รับรางวัล UN Future Gold Policy Award ซึ่งบางครั้งเรียกว่า ออสการ์สำหรับนโยบายที่ดีที่สุด

สื่อมวลชนทั่วโลกชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงของรัฐสิกขิมเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่และเป็นตัวอย่างของวิธีที่โลกสามารถเลี้ยงได้ด้วยอาหารอินทรีย์ แต่มีปัญหาอยู่ที่ เกษตรกรไม่รับการพัฒนาและเกษตรหลายคนยอมแพ้และย้ายไปอยู่ในเมือง การจัดหาปุ๋ยอินทรีย์และสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูไม่เพียงพอและมีราคาแพง รวมทั้งเงินอุดหนุนจากรัฐบาลก็น้อยเกินไป

แปลงเพาะปลูกของสิกขิมไม่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอที่จะเลี้ยงประชากรของรัฐ และการนำเข้าจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกเท่านั้น แต่ผลิตผลที่ไม่ใช่ออร์แกนิกที่มีราคาถูกกว่าจากรัฐที่มีพรมแดนติดกัน ก็พบช่องทางและแข่งขันกับเกษตรกรของสิกขิม และเกษตรกรสิกขิมบางรายตามแนวชายแดนก็นำเข้าวัสดุสังเคราะห์ แม้ว่าจะมีโทษจำคุกหรือปรับก็ตาม

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ภัยพิบัติของศรีลังกา ซึ่งเป็นประเทศหมู่เกาะที่มีประชากร 22 ล้านคนในมหาสมุทรอินเดีย เริ่มความพยายามในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ก่อนฤดูปลูก เพื่อบังคับให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกแบบออร์แกนิก โดยห้ามนำเข้าปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสังเคราะห์ (บางคนบอกว่าการตัดสินใจมีแรงจูงใจจากความจำเป็นในการอนุรักษ์เงินสำรองมากกว่าความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูและปุ๋ยสังเคราะห์) ร้อยละ 90 ของเกษตรกรในศรีลังกาปลูกพืชโดยใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูและปุ๋ยสมัยใหม่ และไม่มีประสบการณ์ในการทำการเพาะปลูกแบบออร์แกนิก และผลผลิตก็ลดลง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.agdaily.com/insights/history-of-misery-when-farmers-are-forced-to-go-organic/