นักวิจัยจีนสำเจ็จ ใช้ CRISPR ทำให้ข้าวมีความยืดหยุ่นต่อโรคใบขีดโปร่งแสงมากขึ้น

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิจัยและพันธมิตรของ Guangxi University แห่งเมืองกุ้ยหลิน เขตปกครองตนเองกว่างสีจ้วง สาธารณรัฐประชาชนจีน ประสบความสำเร็จในการใช้เทคนิคการแก้ไขยีนในข้าว ซึ่งทำให้ต้านทานต่อโรคใบขีดโปร่งแสงที่เกิดจากเชื้อ Xanthomonas oryzae pv. oryzicola (Xoc) ผลการวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Plant Journal

โปรตีนพิเศษที่เรียกว่า transcription activator-like effectors (TALEs) จาก Xanthomonas สามารถเปิดยีนที่อ่อนแอของต้นข้าวให้ทำงานซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลที่จำกัดเกี่ยวกับบทบาทของ Xoc TALE ในการเพิ่มความรุนแรงของแบคทีเรีย ดังนั้น ทีมวิจัยจึงได้ศึกษาบทบาทของ TALE ที่เรียกว่า Tal10a ในการติดเชื้อ Xoc

นักวิจัยใช้การคาดการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์และการวิเคราะห์การแสดงออกของยีน และพบว่า Tal10a จะปลดล็อกยีน (เปิดการทำงานของยีน) ที่เรียกว่า OsHXK5 ยีนนี้จะสร้างเอนไซม์ที่ช่วยให้ต้นข้าวใช้น้ำตาล น่าเสียดายที่เมื่อ Tal10a เปิด OsHXK5 จะทำให้การป้องกันของต้นข้าวอ่อนแอลง ทำให้แบคทีเรียเข้าทำงานได้ง่ายขึ้น จากการค้นพบนี้ นักวิจัยได้ใช้ CRISPR-Cas9 เพื่อแก้ไขยีน OsHXK5 ซึ่งทำให้ Tal10a ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ ทำให้ต้นข้าวสามารถต้านทานแบคทีเรียได้ดีขึ้นมาก

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า OsHXK5 อาจเป็นเป้าหมายที่เป็นไปได้ในการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานต่อโรคใบขีดโปร่งแสง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1111/tpj.16929