พืชแก้ไขยีนด้วย CRISPR-Cas9 ตอบโจทย์การเกษตรที่ยั่งยืน-สร้างความมั่นคงทางอาหารในแอฟริกา

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิจัยจาก Lupane State University ใน Zimbabwe และพันธมิตรได้เขียนบทวิจารณ์การใช้งาน CRISPR-Cas9 ในการพัฒนาพันธุ์พืชที่มีความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะช่วยเกษตรกรรายย่อยในแอฟริกา

การเติบโตของประชากรแอฟริกาถูกคุกคามจากภาวะทุพโภชนาการ ความไม่มั่นคงด้านอาหาร และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประสิทธิภาพการผลิตพืชในแอฟริกาก็ลดลงเช่นกัน เนื่องจากความแห้งแล้งและรูปแบบการตกของฝนที่คาดเดาไม่ได้

เพื่อจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ นักวิจัยได้ใช้ CRISPR-Cas9 เพื่อพัฒนาพันธุ์พืชให้มีลักษณะที่ดีขึ้น เช่น ลักษณะทางโภชนาการ ความทนทานต่อความแห้งแล้ง และความต้านทานโรค

นักวิจัยได้ทบทวนบทความที่เกี่ยวข้องกับการใช้การแก้ไขยีนด้วย CRISPR เพื่อการพัฒนาพันธุ์พืชในแอฟริกาอย่างครอบคลุม และเน้นย้ำถึงผลกระทบของ CRISPR ในการพัฒนาพันธุ์พืชที่มีความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ เช่น กล้วย ข้าวสาลี และมัสตาร์ดเอธิโอเปีย (Ethiopian mustard)

นอกจากนี้ยังมีการหารือถึงข้อกังวลทางสังคม จริยธรรม และความปลอดภัยเกี่ยวกับการยอมรับพืชแก้ไขยีน นักวิจัยพบว่า การปลูกพืชที่มีการแก้ไขยีนให้มีความต้านทานต่อความเครียดและให้ผลผลิตที่ดีกว่า จะช่วยสนับสนุนการเกษตรที่ยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหารในแอฟริกา

ครับ เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่นำไปสู่การเกษตรที่ยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2666154324001698