ปากีสถานอนุญาตให้ปลูกอ้อยดัดแปลงพันธุกรรม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านเทคนิคของหน่วยงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของปากีสถาน ได้อนุญาตให้ปลูกเชิงพาณิชย์สำหรับอ้อย 2 พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง ซึ่งพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ เมืองไฟซาลาบัด (Faisalabad)

แม้ว่าอ้อยจะสนองต่อความต้องการน้ำตาลทั่วโลกได้ถึงร้อยละ 70 และถือเป็นแหล่งเอธานอลชีวภาพ (bioethanol) ที่สำคัญ ปากีสถานจัดอยู่ในอันดับที่ 5 ในการเพาะปลูกอ้อย แต่มีอันดับที่ 11 ในการผลิตทั่วโลก ผลผลิตอ้อยของปากีสถานต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก โดยมีผลผลิตเฉลี่ยเพียง 7.2 – 8.0 ตันต่อไร่ เมื่อเทียบกับมาตรฐานทั่วโลกที่ประมาณ 9.6 ตันต่อไร่

ช่องว่างของผลผลิตนี้อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น วัชพืชและแมลงศัตรูพืช ดังนั้นอ้อยดัดแปลงพันธุกรรมทั้ง 2 พันธุ์จะช่วยลดความกังวลหลักของเกษตรกร โดยอ้อยดัดแปลงพันธุกรรมพันธุ์หนึ่งมีความต้านทานแมลงศัตรู (CABB-IRS) และอีกพันธุ์หนึ่งมีความทนทานสารกำจัดวัชพืช (CABB-HTS)

หลังจากการอนุญาตฝ้ายบีที ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สำหรับอาหารสัตว์และการสกัดน้ำมัน อ้อยกลายเป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรมชนิดที่ 2 ที่ได้รับอนุญาตให้เพาะปลูกในปากีสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นพืชอาหารดัดแปลงพันธุกรรมชนิดแรกที่นำมาใช้ในประเทศ

ครับ ยินดีด้วยกับเกษตรกรปากีสถาน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thenews.com.pk/print/1200664-first-gm-food-crop-okayed-with-new-sugarcane-varieties