บังคลาเทศปลูกมะเขือม่วงบีทีต้านทานแมลงศัตรูสามารถเพิ่มผลผลิตได้ร้อยละ 19.6

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

บังกลาเทศสร้างประวัติศาสตร์ในปี พ.ศ. 2557 ในฐานะประเทศแรกในเอเชียใต้ที่เก็บเกี่ยวพืชอาหารดัดแปลงพันธุกรรมจากการปลูกมะเขือม่วงบีที

แม้ว่าจะมีการต่อต้านอย่างรุนแรงในช่วงเริ่มต้น รวมทั้งการดำเนินงานบางอย่างในช่วงการแนะนำ เช่น การติดตามในระดับภาคสนาม และการตลาดที่มีจริยธรรม เป็นต้น ไม่ได้ดำเนินการ แต่การยอมรับก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก นอกจากนี้บังกลาเทศยังได้เริ่มการปลูกฝ้ายบีทีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2566 และ เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา บังกลาเทศก็ใกล้ที่จะอนุญาตการปลูกข้าวสีทองเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนที่ผ่านมา เมื่อศาลในฟิลิปปินส์ตัดสินไม่ให้มีการปลูกข้าวสีทองเชิงพาณิชย์ เนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัย และคำตัดสินนี้ยังขยายไปถึงมะเขือม่วงบีทีด้วย ด้วยเหตุนี้ การอนุญาตข้าวสีทองในบังกลาเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการทบทวนกฎระเบียบตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 จึงมีความไม่แน่นอน ในขณะที่การปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมอื่น ๆ ยังถูกตั้งคำถามจากนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยด้านอาหาร

แต่การศึกษาจาก Cornell University ซึ่งอิงจากการสำรวจเกษตรกรที่ปลูกมะเขือม่วงบีที และที่ไม่ปลูกมะเขือม่วงบีที ในปี พ.ศ. 2562 ได้รายงานถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจของมะเขือม่วงบีทีทั้ง 4 พันธุ์ที่มีอยู่ ผ่านห่วงโซ่การตลาดของบังคลาเทศ และการยอมรับของเกษตรกรและผู้บริโภค โดยระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้ว พันธุ์มะเขือม่วงบีทีให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์ที่ไม่ใช่บีที ถึงร้อยละ 19.6 และทำให้ผู้ปลูกมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7

ครับ การตัดสินของศาลฟิลิปปินส์ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tbsnews.net/features/panorama/despite-opposition-gmo-may-be-way-forward-846661