ข้อโต้แย้งที่ใช้ต่อต้านพืชดัดแปลงพันธุกรรมดูเหมือนจะไร้สาระ หลังจากเล่าเรื่องเท็จเกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพและการปนเปื้อนทางพันธุกรรมมานาน 28 ปี

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นับตั้งแต่พืชหรือสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมได้รับการอนุญาตเพื่อการผลิตเชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2538 ไม่มีผลการพิสูจน์ชิ้นใหม่เลยว่า สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค การดัดแปลงพันธุกรรมนี้ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของพืช ลดการสูญเสียจากแมลงศัตรูพืช ลดการสูญเสียจากเชื้อโรคที่มาจากไวรัสและจุลินทรีย์ และปรับปรุงความทนทานต่อความแล้ง

หน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐอเมริกาและประเทศที่ลงนามในข้อตกลง CODEX Alimentarius และ พิธีสารคาร์ตาเฮนา (Cartagena Protocol)ได้ประเมินความปลอดภัยของอาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์ โดยพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากอาการแพ้ ความเป็นพิษ ความเสี่ยงด้านโภชนาการ และการต่อต้านโภชนาการ

ซึ่งไม่มีกรณีใดจากการเฝ้าระวังหลังการวางตลาด เผยให้เห็นถึงอันตรายต่อผู้บริโภคหรือสิ่งแวดล้อม รวมถึงการถ่ายทอดดีเอ็นเอจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมไปยังสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่เป้าหมาย ในความเป็นจริงพืชดัดแปลงพันธุกรรมจำนวนมากได้ช่วยปรับปรุงการผลิต ผลผลิต และลดความเสี่ยงจากสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหรือเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรค

แต่ก็ยังมีการเรียกร้องให้ติดฉลากอาหารที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรมใด ๆ ว่าเป็น สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม และปฏิเสธที่จะให้ติดป้ายกำกับเหมือนกับอาหารออร์แกนิก ประเทศในแอฟริกาหลายประเทศได้ยอมรับพิธีสารคาร์ตาเฮนา (Cartagena Protocol)ว่า เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกีดกันเพื่อไม่ให้พืชดัดแปลงพันธุกรรมเข้าประเทศของตน ในขณะที่ต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงทางอาหาร และเหตุผลสำหรับการกีดกันนั้นก็ไม่สมเหตุสมผล

ครับ กาลเวลาได้พิสูจน์แล้วว่าพืชดัดแปลงพันธุกรรมมีความปลอดภัยเทียบเท่าพืชปกติ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/38471133/