บราซิลปล่อยยุงดัดแปลงพันธุกรรมสู้กับโรคไข้เลือดออก

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิทยาศาสตร์ในบราซิลปล่อยยุงดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อหวังลดจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผู้ป่วยมากกว่า 973,000 รายภายใน 2 เดือน และเมืองซูซาโน (Suzano) ในรัฐเซาเปาโล (Sao Paulo) ของบราซิล ก็ประกาศภาวะฉุกเฉินเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้

Oxitec บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของอังกฤษ ได้พัฒนายุงตัวผู้ดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งมียีนที่กำจัดลูกหลานตัวเมียก่อนที่จะโตเต็มที่ เนื่องจากยุงลายตัวเมียเท่านั้นที่เป็นพาหะของไข้เลือดออกและแพร่เชื้อไวรัสสู่คน ดังนั้นการปล่อยยุงตัวผู้ดัดแปลงพันธุกรรมสามารถช่วยลดจำนวนประชากรยุงในประเทศได้

บราซิลได้นำวิธีการนี้มาใช้ โดยวางไข่ของยุงตัวผู้ดัดแปลงในกล่องที่มีน้ำเพื่อให้ฟักเป็นตัว ตามคำบอกเล่าของ Natalia Ferreira ผู้จัดการทั่วไปของ Oxitec ในบราซิล ซึ่งกล่าวว่า “ไข่ของยุงตัวผู้ดังกล่าวจะเจริญเติบโตตามวงจรชีวิตภายในกล่องเหล่านี้ โดยใช้เวลาประมาณสิบวัน และยุงที่โตเต็มวัยก็จะบินออกมาทำงาน”

วิธีการนี้สามารถลดจำนวนประชากรยุงได้ถึงร้อยละ 90 นาย Rodrigo Ashiuchi ผู้ว่าของเมืองซูซาโน กล่าวว่า “เราหวังว่าการติดตามตรวจสอบครั้งต่อไปจะแสดงจำนวนประชากรยุงลดลงร้อยละ 20 เพื่อที่เราจะได้ออกจากภาวะฉุกเฉินนี้”

ครับ นี่คือการใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนยีน หรือ Gene Drive Technology ในการลดจำนวนประชากรของยุงลายที่เป็นพาหะให้เกิดโรคในมนุษย์

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.reuters.com/business/healthcare-pharmaceuticals/biotech-company-bets-gmo-mosquitoes-fight-dengue-brazil-cases-surge-2024-02-28/