โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
VIB ได้ยื่นคำร้องขอทดสอบภาคสนามข้าวโพดแก้ไขจีโนม เพื่อพิจารณาการพัฒนาและองค์ประกอบของผนังเซลล์พืช และวิธีการเปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานในอุตสาหกรรมกระดาษและเยื่อกระดาษ พลังงานชีวภาพ และอื่น ๆ อีกมากมายในการใช้ข้าวโพดในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
นักวิทยาศาสตร์จาก VIB-UGent Center for Plant Systems Biology (Ghent University) ได้ปิดการใช้งานยีนในข้าวโพดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างผนังเซลล์ โดยการใช้เทคนิคการแก้ไขยีน CRISPR-Cas ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตลิกนิน ผลที่ได้ คือ มีลิกนินในผนังเซลล์น้อยลงร้อยละ 20 ซึ่งคาดว่าจะปรับปรุงการย่อยได้ของข้าวโพด ทำให้สัตว์ที่บริโภคข้าวโพดพันธุ์นี้ดูดซับพลังงานและสารอาหารได้ง่ายขึ้น
การทดสอบภาคสนามนี้เป็นขั้นตอนสำคัญในการวิจัยที่มุ่งปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการของข้าวโพด ซึ่งจากการทดสอบภาคสนามนี้ นักวิจัยต้องการตรวจสอบว่าข้าวโพดมีลิกนินในผนังเซลล์น้อยลงหรือไม่ภายใต้สภาพการเจริญเติบโตตามปกติ
ในปี พ.ศ. 2565 VIB ยังได้ส่งใบคำร้อง เพื่อดำเนินการทดสอบภาคสนามข้าวโพดแก้ไขจีโนม จำนวน 3 แปลง หลังจากการสังเกตเรือนกระจกพบว่าพืชดัดแปลงมีความทนทานต่อความเครียดจากสภาพภูมิอากาศหรือย่อยง่ายกว่า
ครับ นี่คือพันธุ์ข้าวโพดเพื่อใช้ในอุสาหกรรมอาหารสัตว์ในอนาคต
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://vib.be/en/news#/news/field-trial-application-for-genome-edited-maize