กว่า 25 ปีการปฏิวัติเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืช เกษตรกรในเขตที่ราบแพรรีของแคนาดา เป็นกลุ่มที่มีความยั่งยืนมากที่สุดในโลก

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

เกษตรกรรมของแคนาดา ได้นำเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ โดยเกษตรกรยอมรับพืชดัดแปลงพันธุกรรมอย่างรวดเร็วหลังจากได้รับอนุญาตในช่วงปลายทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533) 25 ปีต่อมา การยอมรับคาโนลาและข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม กลายเป็นส่วนที่ใช้ในการผลิตเกือบทั้งหมด

ในขณะที่การยอมรับถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมอยู่ที่มากกว่าร้อยละ 80 การไถพรวนและการใช้สารเคมีที่ลดลงทำให้เกษตรกรในเขตที่ราบแพรรีของแคนาดา (Canadian prairie farmers) กลายเป็นเกษตรกรที่ยั่งยืนที่สุดในโลก

สหภาพยุโรป ได้ใช้แนวทางที่ตรงกันข้ามกับแคนาดา โดยมีระบบการกำกับดูแลที่เข้มงวดและห้ามผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการเกษตรที่เป็นนวัตกรรมใหม่ แนวทางที่ยึดตามข้อควรระวังล่วงหน้า (precaution-based approach) ของสหภาพยุโรป ส่งผลให้มีพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ได้รับการอนุญาตในศตวรรษนี้

ส่วนที่แคนาดาได้อนุญาต มากถึง 107 ชนิด โดยใช้กรอบการกำกับดูแลตามหลักวิทยาศาสตร์ การผลิตทางการเกษตรในสหภาพยุโรปยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าจะมีนวัตกรรมทางการเกษตรที่เปลี่ยนแปลงมาหลายทศวรรษก็ตาม

เกษตรกรชาวยุโรปส่วนใหญ่ถูกขัดขวางไม่ให้นำนวัตกรรมที่เกษตรกรแคนาดาชื่นชอบมาใช้ โดยถูกบังคับให้พึ่งพาวิธีการผลิตพืชแบบเก่า การไถพรวนยังคงเป็นรูปแบบการควบคุมวัชพืชทั่วยุโรป ความล้มเหลวในการนำพืชดัดแปลงพันธุกรรมมาใช้ในยุโรปส่วนใหญ่ส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวน 33 ล้านตันต่อปี ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางการเกษตรสูงกว่าการนำพืชดัดแปลงพันธุกรรมมาใช้ถึง ร้อยละ 7.5 ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับในแคนาดา

ครับ การปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมมีความยั่งยืนมากกว่าการปลูกพืชด้วยวิธีการปกติ ในประเด็นของการลดก๊าซเรือนกระจก

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://pubs.acs.org/doi/10.1021/acsagscitech.3c00398