การแก้ไขยีนข้าวโพดให้ออกดอกเร็ว-ทนทานต่อดินเค็ม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

การศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสาร Plant Biotechnology Journal แสดงให้เห็นว่า การหยุดทำงานของยีน ZmPRR37-CR ส่งผลให้ข้าวโพดออกดอกเร็วขึ้น และยังพบว่ายีน ZmPRR37 สามารถเพิ่มความทนทานต่อความเครียดที่เกิดจากเกลือ (ดินเค็ม) ในข้าวโพดได้

การออกดอกเป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของพืช อย่างไรก็ตาม อาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งอาจชะลอหรือเร่งการออกดอกของพืชได้ เนื่องจากเป็นพืชวันสั้น การออกดอกของข้าวโพดในสภาพแวดล้อมที่มีวันยาวนานจึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย ดังนั้น นักวิจัยจึงวิเคราะห์และแก้ไขยีนของข้าวโพดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการออกดอกและปรับปรุงความทนทานต่อเกลือ (ดินเค็ม)

การศึกษาพบว่ายีน ZmPRR37 ทำให้เกิดการออกดอกของข้าวโพดล่าช้าภายใต้สภาวะที่มีวันยาว การค้นพบจากการศึกษานี้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับบทบาทที่สำคัญของ ZmPRR37 ในการควบคุมเวลาออกดอกและการตอบสนองต่อความเครียดของเกลือในข้าวโพด

ครับ การแก้ไขยีนมีศักยภาพในการปรับปรุงลักษณะที่ต้องการในการแสดงออกของพืชได้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/pbi.14236