โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแห่งชาติ (National Institute of Agricultural Technology – INTA) ของอาร์เจนตินา ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบการดำเนินการและรวมศูนย์การวิจัยทางการเกษตรในประเทศ ใกล้ที่จะปลดปล่อยมันฝรั่งแก้ไขยีนชนิดแรกในละตินอเมริกา
การพัฒนานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปิดยีนที่ทำให้มันฝรั่งมีสีเข้มขึ้นหลังการตัด ปอกเปลือก หรือจากการถูกกระแทกระหว่างกระบวนการเก็บเกี่ยวและขนส่ง ลักษณะนี้เรียกว่าการเกิดสีน้ำตาลของเอนไซม์ เกิดขึ้นเนื่องจากการออกซิเดชันของมันฝรั่ง และเปลี่ยนรสชาติ เนื้อสัมผัส และสี ซึ่งส่งผลต่อคุณสมบัติทางโภชนาการและคุณภาพของผลิตภัณฑ์
การเกิดสีน้ำตาลและรอยช้ำของมันฝรั่งทำให้เกิดความสูญเสียนับล้านแก่เกษตรกร นอกเหนือจากการส่งเสริมขยะอาหารในซูเปอร์มาร์เก็ตและบ้านเรือน เมื่อผู้บริโภคทิ้งผลิตภัณฑ์เนื่องจากรูปลักษณ์ที่ไม่ดี
ในการทดสอบพบว่า ผิวมันฝรั่งที่ผ่านการแก้ไขพันธุกรรมสามารถสัมผัสกับอากาศได้นานถึง 48 ชั่วโมงโดยไม่ทำให้ดำคล้ำ ซึ่งเป็นสภาวะที่มันฝรั่งธรรมดาเปลี่ยนเป็นสีดำได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที
มันฝรั่งที่ผ่านการแก้ไขยีนด้วย CRISPR ได้ถูกส่งไปยัง Prior Consultation Instance (กระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า) ก่อนส่งต่อไปยังหน่วยงานกำกับดูแลของอาร์เจนตินา ซึ่งสรุปว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวถือเป็นผลิตภัณฑ์ทั่วไป เนื่องจากไม่มียีนจากสิ่งมีชีวิตอื่น ซึ่งหมายความว่ามันฝรั่งดังกล่าวไม่ควรอยู่ภายใต้กรอบการกำกับดูแลที่กำหนดไว้สำหรับพืชดัดแปลงพันธุกรรม
ครับ ผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีแก้ไขยีนจะเริ่มออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://agrobio-org.translate.goog/noticias/papa-editada-con-crispr-hecha-en-latinoamerica?_x_tr_sl=auto&_x_tr_tl=en&_x_tr_hl=en&_x_tr_pto=wapp