มัสตาร์ดดัดแปลงพันธุกรรมของอินเดียมีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 37 รายได้เกือบทั้งหมดเป็นของเกษตรกร

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย….ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

แม้ว่าอินเดียจะมีผลกำไรมหาศาลจากฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมที่จำหน่ายในเชิงพาณิชย์เมื่อสองทศวรรษก่อน แต่ด้วยการกำหนดนโยบายที่ผ่านมา ทำให้ต้องหยุดชะงักในแง่ของการอนุญาตการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพใหม่ ๆ ในการเกษตร ซึ่งส่งผลเสียต่อการวิจัย การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ และการเติบโตของผลผลิต ปัญหาในการอนุญาตตามกฎระเบียบทำให้เกิดความสูญเสียทางการเงินมหาศาลที่ควรได้จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น จากการบรรเทาความยากจน ภาวะทุพโภชนาการ และความหิวโหยที่ซ่อนเร้น

การตัดสินใจของรัฐบาลในการเดินหน้าพัฒนามัสตาร์ดดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเดลี (University of Delhi) บ่งบอกถึงการฟื้นตัวและเป็นลางดีสำหรับระบบอาหารของประเทศ การทดสอบหลายครั้งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นถึงความปลอดภัยสำหรับใช้เป็นอาหาร อาหารสัตว์ และสิ่งแวดล้อมในบริบทของอินเดีย ลูกผสม DMH-11 ให้ผลผลิตดีกว่าพันธุ์เดิมร้อยละ 37 เมื่อใช้การจัดการในระดับเดียวกัน

การถกเถียงเกี่ยวกับมัสตาร์ดดัดแปลงพันธุกรรมนั้นจำกัดอยู่เพียงบทความและข้อคิดเห็นในหนังสือพิมพ์ แม้ว่าบางครั้งจะมีการเผยแพร่ในวารสารวิชาการด้วยก็ตาม ในส่วนของสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งชาติ (National Academy of Agricultural Sciences) นิวเดลี ได้หารือเกี่ยวกับเรื่องนี้และลงมติเมื่อปี พ.ศ. 2560 ว่ามัสตาร์ดดัดแปลงพันธุกรรมมีความปลอดภัย

จากการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าชุมชนเกษตรกรรมจะมีรายได้เพิ่ม ร้อยละ 99 เหลือเพียงร้อยละ 1 ที่เป็นของบริษัทเมล็ดพันธุ์ การสร้างระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมผ่านการอนุญาตนี้ถือเป็นความก้าวหน้าอย่างหนึ่ง และลูกผสมใหม่ ๆ หลายพันธุ์ที่มีผลผลิตสูงกว่าและมีลักษณะเป็นที่ต้องการอาจตามมาในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งอาจนำไปสู่การพลิกฟื้นการผลิตมัสตาร์ดได้

ครับ ถึงเวลาแล้วที่เกษตรกรไทยควรที่จะได้ใช้ประโยชน์จากพืชดัดแปลงพันธุกรรม

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.epw.in/journal/2023/43/review-rural-affairs/hybrid-mustard-and-biotechnology.html