ทบทวนใช้ CRISPR-Cas ในการแก้ไขยีนสัตว์ขนาดใหญ่เพื่อการปศุสัตว์

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิจัยได้ทบทวนบทความที่เกี่ยวกับผลกระทบของเครื่องมือแก้ไขยีนต่อสัตว์ใหญ่ โดยมุ่งเน้นเป็นพิเศษไปที่ CRISPR-Cas และการใช้งานสุกรสำหรับการใช้งานด้านชีวการแพทย์

สัตว์ใหญ่ที่ดัดแปลงพันธุกรรมชุดแรกถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2528 เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของปศุสัตว์ทางการเกษตร ในช่วงหลายทศวรรษต่อมา พันธุวิศวกรรมของสัตว์ใหญ่ได้มุ่งเน้นไปที่การประยุกต์ใช้ทางชีวการแพทย์เป็นหลัก แทนที่จะเป็นการเกษตร ในรายงานดังกล่าว นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรหูเป่ย (Hubei Academy of Agricultural Sciences) ของจีน และมหาวิทยาลัยมิสซูรี (University of Missouri) สหรัฐอเมริกา ได้ทบทวนบทความที่เกี่ยวกับผลกระทบของการแก้ไขยีนต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์

ผลการทบทวนพบว่า CRISPR มีข้อได้เปรียบที่ดีกว่าสำหรับสวัสดิภาพสัตว์ เนื่องจากใช้สัตว์น้อยลงในการพัฒนาสัตว์ที่มีพันธุกรรม (genotype) ที่ต้องการ และ CRISPR ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิตลูก ความยืดหยุ่น และการเติบโตของสัตว์เกษตรอีกด้วย ในแง่ของการใช้งานด้านชีวการแพทย์ การแก้ไขยีนถือเป็นขั้นตอนทางการแพทย์ขั้นสูง และการดัดแปลงพันธุกรรมทำให้มีการปลูกถ่ายหัวใจจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่ง (xeno-heart transplantation) ในการรักษา

ครับ เทคนิคการแก้ไขยีนสามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งในสัตว์และในมนุษย์

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fgeed.2023.1272687/full?fbclid=IwAR38_ckzQ8fw1m8UjthKw7PclaCHVv6EwU1yqaP55BBKJQgnJ4isCqgPUts#B12