อินเดียเปิดตัวมัสตาร์ดบีที ที่ต้านทานแมลงในเชิงพาณิชย์ ที่จะช่วยให้มีน้ำมันพืชบริโภคได้เพียงพอ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ปัญหาความหิวโหยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไม่มีกำลังซื้อและมีอาหารไม่เพียงพอ เป็นต้น ซึ่งอินเดียสามารถพึ่งพาเมล็ดธัญพืชได้แต่ยังขาดพืชตระกูลถั่วและน้ำมันพืชเพื่อใช้บริโภค การเพิ่มผลผลิตพืชด้วยการปรับปรุงพันธุ์แบบเดิม ๆ นั้นเป็นไปไม่ได้ แต่เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมอาจมีคุณค่าในการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีลักษณะที่ต้องการเพื่อเพิ่มผลผลิต

แหล่งรวมยีนมัสตาร์ดของอินเดียนั้นแคบมาก ดังนั้นผลผลิตจึงต่ำเกินไป GM DMH-11 เป็นลูกผสมระหว่างสายอินเดียและยุโรปตะวันออก ที่ ระบบควบคุมการผสมเกสรถูกดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อทำให้เมล็ดลูกผสมมีความบริสุทธิ์สูง ด้วยความช่วยเหลือของยีน 3 ชนิด ได้แก่ บาร์นาส (barnase) บาร์สตาร์ (barstar) และบาร์ (bar) ลูกผสมที่ได้ให้ผลตอบแทนสูงกว่า DMH-11 เดิม และกำลังอยู่ในขั้นตอนใกล้การปลดปล่อย

ศูนย์การจัดการทางพันธุกรรมพืช (Centre for Genetic Manipulation of Crop Plants) มหาวิทยาลัยเดลี (Delhi University) ได้ยื่นขอต่อ คณะกรรมการประเมินทางพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering Appraisal Committee – GEAC) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลของอินเดีย เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558 เพื่อปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม เอกสารประกอบมีความยาว 3,251 หน้า เป็นรายงานการศึกษาความปลอดภัยทางชีวภาพทั้งหมด ที่ถูกส่งไปยัง GEAC และหลังจากที่ตรวจสอบอย่างละเอียดแล้ว GEAC ก็ให้การอนุญาตในปี พ.ศ. 2565

นักเคลื่อนไหวกล่าวว่าลูกผสม DMH-11 ไม่มีข้อได้เปรียบด้านผลผลิต ซึ่งใช้เป็นตัวเปรียบเทียบที่ไม่ถูกต้อง และ การทดลองดำเนินการไม่ถูกต้อง และอื่น ๆ ข้อกล่าวหาทั้งหมดนี้ได้รับการตรวจสอบโดยคณะกรรมการของสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งชาติ (National Academy of Agricultural Sciences – NAAS) และพบว่าข้อกล่าวหาทั้งหมดเป็นการประสงค์ร้ายและเป็นเท็จ

ครับ มีหลาย ๆ ประเทศ ที่ไม่รังเกียจพืชดัดแปลงพันธุกรรม

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.newindianexpress.com/xplore/2023/sep/16/give-gm-mustard-a-chance-dr-deepak-pental-2615287.html