ความจริงผลกระทบของพืชดัดแปลงพันธุกรรมต่อผลผลิตทางการเกษตรทั่วโลก

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ในกรณีที่ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม โลกต้องการพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรทั่วโลกเทียบเท่าผลผลิตในปี พ.ศ. 2562 การศึกษานี้ได้ตีพิมพ์ในวารสาร American Economic Review: Insights

ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (University of Copenhagen) ประเทศเดนมาร์ก ได้ทำการศึกษา เพื่อประเมินผลกระทบของพืชดัดแปลงพันธุกรรมต่อผลผลิตของแต่ละประเทศ พื้นที่เก็บเกี่ยว และการค้า โดยใช้วิธีการทางสถิติที่เรียกว่า triple-differences rollout design เพื่อเปรียบเทียบผลผลิต พื้นที่เก็บเกี่ยว และการค้า ของประเทศที่นำพืชดัดแปลงพันธุกรรมมาใช้ในเวลาที่ต่างกันกับประเทศที่ไม่ได้ใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรม ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา และหากไม่มีพืชดัดแปลงพันุกรรม ก็จำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกอีกร้อยละ 3.4 เพื่อให้ได้ผลผลิตทั่วโลกเทียบเท่าในปี พ.ศ. 2562

การศึกษายังพบว่าการห้ามปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม มีผลกระทบต่อประโยชน์ทั่วโลกจากการนำพืชดัดแปลงพันธุกรรมมาใช้ โดยบรรลุผลสำเร็จเพียง 1 ใน 3 ของศักยภาพโดยประมาณที่จะได้รับจากพืชดัดแปลงพันุกรรมที่มีอยู่ ดังนั้น การยกเลิกคำสั่งห้ามปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมอาจได้รับประโยชน์ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา และหากไม่มีข้อจำกัดดังกล่าว อาจมีฝ้ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ข้าวโพดเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 เมล็ดเรพซีด (คาโนล่า) เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 และถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ทั่วโลกในปี พ.ศ. 2562

ครับ เป็นการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า ถ้าไม่ใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรม จะต้องเพิ่มพื้นที่ในการเพาะปลูก และถ้าใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรม ผลผลิตฝ้าย ข้าวโพด คาโนล่า และถั่วเหลืองจะเพิ่มขึ้น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://geneticliteracyproject.org/2023/08/25/cost-of-gmo-bans-global-crop-assessment-finds-gmo-restrictions-limit-food-production-to-%E2%85%93-of-potential-with-poorer-countries-hit-hardest/