สารเคมีจากรากข้าวโพดส่งผลต่อผลผลิตข้าวสาลี

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิจัยจากสถาบันพืชศาสตร์ (Institute of Plant Sciences – IPS) จากมหาวิทยาลัยเบิร์น (University of Bern) ได้แสดงให้เห็นว่าสารเคมีที่มีความจำเพาะที่ถูกปล่อยออกมาจากรากข้าวโพด ส่งผลต่อคุณภาพของดิน และในบางพื้นที่ ผลกระทบนี้จะเพิ่มผลผลิตของข้าวสาลีที่ปลูกตามหลังข้าวโพดในพื้นที่เดียวกัน มากกว่าร้อยละ 4

จากการศึกษาก่อนหน้านี้ของ IPS พบว่า เบนโซซาซินอยด์ (benzoxazinoids) ซึ่งเป็นสารเคมีธรรมชาติที่ข้าวโพดปล่อยออกมาทางราก ได้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของจุลินทรีย์ในดินใกล้ราก และส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกตามมา การศึกษาในปัจจุบันจึงต้องการคำตอบว่า การตอบสนองดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายใต้สภาพการเพาะปลูกจริงหรือไม่

ในระหว่างการทดลองภาคสนามเป็นเวลา 2 ปี ได้ปลูกข้าวโพด 2 สายพันธุ์เป็นพืชแรก โดยมีเพียงสายพันธุ์เดียวเท่านั้นที่ปล่อยเบนโซซาซินอยด์ลงดิน จากนั้นจึงปลูกข้าวสาลีฤดูหนาว 3 สายพันธุ์บนดินที่มีสภาพแตกต่างกัน นักวิจัยพบว่าเป็นไปได้ที่การปล่อยเบนโซซาซินอยด์ จะช่วยเพิ่มการงอกและการแตกกอ การเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวสาลี

ครับ เป็นเรื่องที่มีการพูดถึงมานานแล้วครับว่า สารเคมีที่ปล่อยจากรากของพืชแรกจะส่งผลกระทบต่อพืชตาม

อ่านเพิ่มเติฒได้ที่ https://mediarelations.unibe.ch/media_releases/2023/media_releases_2023/chemicals_from_maize_roots_influence_wheat_yield/index_eng.html