โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ศาสตราจารย์ Holger Puchta นักชีววิทยาระดับโมเลกุลจาก Karlsruhe Institute of Technology (KIT) กำลังใช้วิธีแก้ไขยีน CRISPR-Cas เพื่อแก้ไขหลายยีนพร้อมกันในพืชปลูกอย่างอิสระ ซึ่งเป็นความฝันที่เป็นจริงของ Gregor Mendel บิดาแห่งพันธุศาสตร์ ผลงานของศาสตราจารย์ Puchta ยังช่วยให้พืชปลูกทางการเกษตรปรับตัวเข้ากับภาวะโลกร้อนได้ดีขึ้นอีกด้วย
ศาสตราจารย์ Puchta และทีมงานที่สถาบัน Joseph Gottlieb Kölreuter Institut of Plant Sciences (JKIP) ของ KIT เป็นคนแรกที่แสดงให้เห็นว่าไม่เพียงแค่ยีนเดียว แต่โครโมโซมทั้งหมดสามารถแก้ไขได้ด้วยกรรไกรโมเลกุล (molecular scissors) เพื่อสร้างเทคโนโลยีสำหรับการปรับโครงสร้างเฉพาะของจีโนมพืช ศาสตราจารย์ Puchta จึงได้รับเงินทุนจากโครงการ Reinhart Koselleck โดย DFG ที่มีเป้าหมายที่จะรวมหลายยีนในพืชปลูกอย่างอิสระ
ศาสตราจารย์ Puchta อธิบายว่ากรรไกรโมเลกุลสามารถปรับเปลี่ยนพืชปลูก เพื่อให้สามารถรับมือกับความร้อนที่เกิดจากภาวะโลกร้อนได้ดีขึ้น และวิธีนี้ยังสามารถทำให้พืชปลูกต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชได้มากขึ้น ซึ่งช่วยลดความจำเป็นในการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ด้วยการดัดแปลงการจัดเรียงของยีนบนโครโมโซม กรรไกรโมเลกุลสามารถรวมหลายลักษณะของพืชได้อย่างอิสระ “ด้วยวิธีนี้ พืชยังสามารถสืบทอดคุณสมบัติที่ต้องการหลายอย่างร่วมกัน เช่น ทนความร้อนและเกลือ เป็นต้น”
ครับ น่าจะเป็นเทคนิคใหม่ที่ไม่ได้แก้ไขลักษณะเดียวแต่เป็นการแก้ไขพร้อมกันหลายลักษณะในการทำเพียงครั้งเดียว
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.kit.edu/kit/english/pi_2023_052_green-genetic-engineering-making-mendel-s-dream-come-true-with-molecular-scissors.php