ทีมงานนานาชาติเผยแพร่ลำดับจีโนมที่มีความแม่นยำสูงของ Buckwheat

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

กลุ่มวิจัยระดับนานาชาติจากญี่ปุ่น จีน และสหราชอาณาจักร นำโดยบัณฑิตวิทยาลัยการเกษตรแห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต ได้เปิดตัวลำดับจีโนมของโครโมโซมที่มีความแม่นยำสูงของ Buckwheat (พืชจำพวกหนึ่ง มีเมล็ดรูป 3 เหลี่ยม ใช้ประโยชน์เหมือนธัญพืช) ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการคลี่คลายวิวัฒนาการและต้นกำเนิดของพืชปลูก

นักวิจัยประสบความสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์ Buckwheat ที่ผสมตัวเอง (buckwheat อยู่ในกลุ่มพืชที่ผสมตัวเองไม่ติด – self – incompatibility)และเป็นพืชชนิดใหม่ที่เมล็ดแป้งมีเนื้อเหนียวคล้ายโมจิ ด้วยการเปลี่ยนแปลงยีนที่เฉพาะเจาะจง วิธีปรับปรุงพันธุ์นี้อาจสร้างให้เกิดพืชที่หลากหลาย มากกว่าการใช้เทคโนโลยีแก้ไขจีโนมที่มีอยู่

เมื่อประชากรโลกเพิ่มขึ้น การพึ่งพา ข้าว ข้าวสาลี และข้าวโพดก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ความพร้อมใช้งานของจีโนมของ buckwheat อาจส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ในเรื่อง ‘ความหิวโหยเป็นศูนย์’ (‘Zero Hunger’) ‘สุขภาพที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดี’ (‘Good Health and Well-Being’) และ ‘การบริโภคอย่างรับผิดชอบและ การผลิต’ (‘Responsible Consumption and Production’)

ครับ นับเป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ในการพัฒนาพันธุ์พืช

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.kyoto-u.ac.jp/en/research-news/2023-08-17