ใช้ CRISPR-Cas9 เพื่อแก้ไขยีนในหัวหอมเป็นครั้งแรก

  •  
  •  
  •  
  •  

นักวิทยาศาสตร์จากคณะกรรมการการวิจัยหัวหอมและกระเทียมในอินเดีย (Directorate of Onion and Garlic Research) และมหาวิทยาลัยรัฐไอโอวา (Iowa State University) รายงานเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับความสำเร็จในการใช้ CRISPR-Cas9 เพื่อปรับเปลี่ยนลักษณะของหัวหอม งานวิจัยนี้เป็นหลักฐานเพิ่มเติม ที่สนับสนุนงานวิจัยระดับโมเลกุลและการปรับปรุงพันธุ์หัวหอมขั้นพื้นฐานและประยุกต์

exons (เป็นยีนส่วนที่เข้ารหัสส่วนหนึ่งของอาร์เอ็นเอ) 2 ตัวของการเข้ารหัสยีน เป็นเป้าหมายเพื่อสร้าง Phytoene desaturase (AcPDS) (เอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แคโรทีนอยหรือสารสี) ในหัวหอม โดยการพัฒนาโครงสร้างที่มี sgRNA (Single guide RNAs เป็นการรวมกันของอาร์เอ็นเอประกอบด้วย tracrRNA และ crRNA อย่างน้อยหนึ่งชิ้น) โดยใช้ calli (กลุ่มเซลล์ที่สามารถพัฒนาเป็นต้น) อายุ 2 เดือนและการส่งถ่ายยีนโดยใช้แบคทีเรีย Agrobacterium (Agrobacterium-mediated transformation)

โครงสร้างที่พัฒนาจะถูกบ่มเพื่อผลิตหน่อใหม่ที่แสดงลักษณะผิวเผือก (albino) ไคเมอริก (chimeric หรือ เนื้อเยื่อที่มี DNA ต่างกันอย่างน้อยสองชุด) และสีเขียวอ่อน ลักษณะผิวเผือกที่แสดงออกนี้ถูกนำมาใช้ในการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่ายีน AcPDS ได้รับการแก้ไขสำเร็จ เนื่องจากการกลายพันธุ์ทำให้ปริมาณคลอโรฟิลล์ (สารสีเขียว) ในผิวเผือกลดลงอย่างมาก นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่านี่เป็นครั้งแรกที่มีการสร้างโปรโตคอล (วิธีการ) การแก้ไขจีโนม CRISPR-Cas9 ในหัวหอมได้สำเร็จ

ครับ สรุปได้ว่า งายวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวิธีการแก้ไขยีนของหัวหอม ซึ่งจะมีประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์หัวหอมต่อไป

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpls.2023.1226911/abstract