โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จาก University of Florida ในสหรัฐอเมริกา และ Integrated DNA Technologies, Inc. สามารถสร้างสายพันธุ์ส้มที่ต้านทานโรคแคงเกอร์ที่ปราศการถ่ายฝากยีนโดยใช้เทคโนโลยี CRISPR-Cas12a/crRNA ribonucleoprotein การศึกษานี้คาดว่าจะส่งผลที่ดีอย่างมีนัยสำคัญต่อการปรับปรุงพันธุ์ส้ม
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการแปลง embryogenic protoplasts ด้วย Cas12a/crRNA ribonucleoprotein เพื่อแก้ไขโรคแคงเกอร์ ซึ่งเป็นโรคพืชตระกูลส้มที่สร้างความเสียหายทั่วโลก ที่เกิดจาก Xanthomanas citri subsp. Citri (Xcc) เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ Citrus sinensis ที่ต้านทานโรคแคงเกอร์ที่ไม่มียีนจากการถ่ายฝาก นักวิทยาศาสตร์สามารถผลิตพืชได้ 39 ต้นในขั้นต้น และ 38 ต้น
ในจำนวนนี้เป็นการกลายพันธุ์แบบคู่ขนาน/โฮโมไซกัส (biallelic/homozygous mutants) ไม่พบการกลายพันธุ์นอกเป้าหมาย กระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่การแปรสภาพไปจนถึงการต่อกิ่ง ใช้เวลาเพียง 10 เดือน และมุ่งมั่นที่จะเติมเต็มในแนวทางการปรับปรุงพันธุ์ส้มแบบดั้งเดิม
สายพันธุ์เหล่านี้ยังอยู่ระหว่างการประเมิน แต่ USDA APHIS ได้พิจารณาแล้วว่า จะได้รับการยกเว้นจากกฎระเบียบของ EPA เนื่องจากไม่มียีนถ่ายฝาก หากถูกปลดปล่อย สายพันธุ์ส้มที่ต้านทานโรคแคงเกอร์สามารถใช้เป็นแนวทางแก้ไขที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคแคงเกอร์ของส้ม และนำความโล่งใจมาสู่ผู้ปลูกส้มและผู้บริโภค
ครับ นี่คือความสามารถของเทคโนโลยีการแก้ไขยีน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nature.com/articles/s41467-023-39714-9