โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
จนถึงขณะนี้ แทบเป็นไปไม่ได้เลยในยุโรปที่จะนำพืชดัดแปลงพันธุกรรมเข้าสู่ตลาด เนื่องจากระบบบริหารที่ซับซ้อน และนักวิจัยจำนวนมากต้องเสียเวลาหลายปีในการกรอกใบคำร้อง นอกจากนี้ ยังต้องมีการกำหนดเครื่องหมายในแต่ละแปลงที่ทำการทดสอบพันธุ์ ซึ่งทำให้กลุ่มต่อต้านพันธุวิศวกรรมมักจะเข้าทำลายแปลงทดสอบพันธุ์นี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
โดยเฉพาะ German Greens หรือกลุ่มเคลื่อนไหวสีเขียว จนไม่มีใครกล้าทำแปลงทดสอบอีกต่อไป และการที่นักวิจัยสามารถทำการวิจัยได้เฉพาะในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ทำให้นักวิจัยหลายคนเลือกที่จะไปทำงานวิจัยที่สหรัฐอเมริกา
แต่ในขณะนี้ ข้อจำกัดดังกล่าวกำลังมีการเสนอให้เปลี่ยนแปลง แต่ยังมีการต่อต้านข้อเสนอของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศเยอรมนี โดยกรีนพีซได้ยกกรณีเก่า ๆ ของข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมขึ้นมาอีกครั้ง และกล่าวว่า “เป็นเรื่องเหลือเชื่อ ที่คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปต้องการเลิกควบคุมพันธุวิศวกรรม”
เนื่องจากไม่พบว่ามีความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับพันธุวิศวกรรมในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา กลุ่มต่อต้านจึงมักจะยกประเด็นเรื่องปัญหาสิทธิบัตรหรือการปรับโครงสร้างการเกษตร และกลุ่มต่อต้านกลัวว่าพันธุ์ใหม่จะถูกใช้เป็นข้ออ้างในการยึดติดกับพืชเชิงเดี่ยว หรือ ไม่กลุ่มต่อต้านอาจจะสร้างสถานการณ์ในทางที่ผิด เพื่อต่อต้านการเลิกควบคุมพันธุวิศวกรรม
ครับ ไม่ทราบว่าจะทำได้จริงหรือเปล่า
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://zeitung-faz-net.translate.goog/fas/seite-eins/2023-07-09/da02dfbeebb668a52e41f003f5226faf/?GEPC=s10&_x_tr_sl=auto&_x_tr_tl=en&_x_tr_hl=en&_x_tr_pto=wapp