โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
AgResearch ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์ในนิวซีแลนด์ กำลังขยายโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับหญ้าดัดแปลงพันธุกรรมและแก้ไขยีน โดยได้รวมทั้ง clover (ไม้จำพวกถั่วคลุมดิน) และ endophytes (เชื้อจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในพืช โดยไม่ทําให้พืชเกิดโรค) ไว้ในขอบเขตของการวิจัยด้วย แต่จะเริ่มที่หญ้าไรย์ (ryegrass) ที่ให้พลังงานที่มีความสามารถในการเผาผลาญได้สูง (High Metabolizable Energy – HME) HME ryegrass ได้เสร็จสิ้นการทดสอบภาคสนามในสหรัฐอเมริกา แต่ถูกถอนออกชั่วคราวในออสเตรเลีย เนื่องจากข้อกำหนดที่ซับซ้อนของหน่วยงานกำกับดูแล
HME ryegrass เป็นหญ้าดัดแปลงพันธุกรรมที่ได้รับการดัดแปลงเพื่อให้มีระดับไขมันในใบสูงขึ้น โดยการเพิ่มการแสดงออกของยีน 2 ตัวที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไขมันและการสังเคราะห์แสง นอกเหนือจาก HME ryegrass แล้ว ขณะนี้นักวิจัยกำลังพัฒนา white clover (Trifolium repens) ที่มีสารแทนนินเข้มข้นสูง ซึ่งยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่มีผลลัพธ์ที่น่ายินดี เช่น การลดการปล่อยก๊าซมีเทนลงร้อยละ 15 และกำลังพัฒนา endophytes ที่แก้ไขยีน เพื่อพัฒนาการป้องกันศัตรูพืชและลดความเป็นพิษที่อาจเกิดขึ้นกับสัตว์ไปพร้อม ๆ กัน
ครับ ถ้ามีความชัดเจนในนโยบาย ประเทศไทยน่าจะมีผลงานดี ๆ ที่มาจากเทคโนโลยีที่มีศักยภาพนี้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.farmersweekly.co.nz/technology/agresearch-expands-work-on-gm-grasses/