ระบบใหม่ที่คล้ายกับ CRISPR สามารถปฏิวัติการแก้ไขจีโนมได้

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ผู้เชี่ยวชาญที่นำโดย Feng Zhang จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology – MIT) ประเทศสหรัฐอราเมริกา รายงานระบบ RNA-guided system (ระบบอาร์เอ็นเอตัวนำ หรือ ไกด์อาร์เอ็นเอ ซึ่งจะทำหน้าที่นำเอ็นไซม์ไปยังตำแหน่งยีนที่ต้องการ) ที่ตั้งโปรแกรมได้เป็นครั้งแรกใน eukaryotic organisms (สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์) ซึ่งรวมถึงพืช สัตว์ และเชื้อรา การค้นพบนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature

ส่วนประกอบหลักของระบบใหม่นี้ คือ โปรตีนที่เรียกว่า Fanzor ซึ่งใช้ RNA ตัวนำ ในการกำหนดเป้าหมายของดีเอ็นเอได้อย่างแม่นยำ Fanzors สามารถตั้งโปรแกรมใหม่เพื่อแก้ไขจีโนมของเซลล์มนุษย์ ระบบใหม่นี้สามารถส่งไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าระบบ CRISPR-Cas และยังสามารถปรับให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

จากข้อมูลของ Zhang ระบบ Fanzor เป็นเทคนิคอีกวิธีหนึ่งในการแก้ไขได้อย่างแม่นยำในเซลล์มนุษย์ ซึ่งช่วยเสริมเครื่องมือแก้ไขจีโนมที่มีอยู่ จึงมี เป้าหมายหลัก คือ การพัฒนาเวชพันธุศาสตร์ (genetic medicines) โดยใช้ระบบนี้เพื่อปรับเซลล์มนุษย์ โดยกำหนดเป้าหมายไปที่ยีนและกระบวนการเฉพาะ

Fanzors กล่าวว่า “ธรรมชาติเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ มีความหลากหลายมาก…น่าจะมีระบบที่ตั้งโปรแกรม RNA ได้มากกว่านี้ และเรากำลังสำรวจต่อไปและหวังว่าจะค้นพบเพิ่มเติม”

ครับ การค้นพบใหม่ ๆ นำไปสู่การพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์มากขึ้น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://news.mit.edu/2023/fanzor-system-in-animals-can-edit-human-genome-0628