โดย….ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
เป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ คือ การทำให้ส่วนผสมของอาหารมีความเหมือนเนื้อสัตว์มากขึ้นและดีต่อสุขภาพ Moolec ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาส่วนผสมอาหารในสหราชอาณาจักร ได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนา โดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) พัฒนาเมล็ดถั่วเหลืองที่มีโปรตีนเนื้อหมูในระดับสูง
จากข้อมูลของ Moolec โปรตีนสัตว์ที่แสดงใน “Piggy Sooy (ถั่วเหลืองที่ดัดแปลงพันธุกรรม)” มีประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 26.6 ของโปรตีนที่ละลายน้ำได้ในเมล็ดถั่วเหลือง ปริมาณโปรตีนเนื้อสัตว์ที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้เมล็ดมีสีชมพูคล้ายกับเนื้อหมู
นอกจาก Piggy Sooy แล้ว Moolec ยังผลิต pea plants (พืชตระกูลถั่วในสกุล Pisum มีดอกสีขาวขนาดเล็กและฝักยาวสีเขียวมีเมล็ดสีเขียวกินได้) ที่มีโปรตีนเนื้อวัวอีกด้วย โดยอ้างว่าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบดังกล่าว จะมีรสชาติ เนื้อสัมผัส และคุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ แต่ไม่มีต้นทุนสูงเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง
ความสำเร็จในการพัฒนาโปรตีนหมูในเมล็ดถั่วเหลืองทำให้ Moolec ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรใหม่ที่ใช้เทคนิคการทำฟาร์มระดับโมเลกุลแบบใหม่ เพื่อให้การกำกับดูแลเป็นไปอย่างราบรื่นแก่บริษัทในอนาคต
ครับ ในอนาคตอาจมีการเพาะเลี้ยงปศุสัตว์เพื่อการบริโภคลดน้อยลง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://moolecscience.com/press/piggy_sooy_media_kit.zip