บทพิสูจน์ทำเกษตรอินทรีย์ในรัฐสิกขิมของอินเดีย

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ในวันที่อากาศหนาวเย็นของเดือนมกราคม 2559 นาย Narendra Modi ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของอินเดีย ได้ประกาศให้สิกขิม (Sikkim) เป็นรัฐเกษตรอินทรีย์แห่งแรกในอินเดีย หลังจากนั้นอีก 7 ปี หรือ 2 ทศวรรษนับตั้งแต่หัวหน้ารัฐมนตรีในขณะนั้นที่ประกาศเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะเปลี่ยนสิกขิมให้เป็นรัฐเกษตรอินทรีย์อย่างสมบูรณ์ พบว่า เกิดการเคลื่อนไหวอย่างสั่นคลอน รายได้ต่ำและการย้ายถิ่นฐานสู่เมือง

หมายความว่า เกษตรกรเลิกอาชีพนี้ เนื่องจากหลายเหตุผล เช่น มีการแข่งขันจากผลผลิตที่ไม่ใช่ออร์แกนิกที่ถูกกว่าจากประเทศเพื่อนบ้าน มีปัญหาหลายอย่างรุมเร้าห่วงโซ่อุปทานสำหรับผลิตผลออร์แกนิก และมีข่าวลือเกี่ยวกับเกษตรกรในเขตที่อยู่ติดกับรัฐใกล้เคียงของเบงกอลตะวันตก (West Bengal) ได้เปลี่ยนกลับไปทำการเกษตรเคมี และผลิตผลเกษตรอินทรีย์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถค้ำจุนประชากรของรัฐได้

รายงานของ Laxuman Sharma จากภาควิชาพืชสวนของมหาวิทยาลัยสิกขิม (Sikkim University) กล่าวว่า “มีเพียงร้อยละ 11 ของที่ดินทั้งหมดที่นี่ (สิกขิม) เท่านั้นที่สามารถเพาะปลูกได้ แต่พื้นที่ดังกล่าวก็ลดลง เพราะมีการพัฒนา การก่อสร้างถนน และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ตามมา” รวมทั้งจำนวนเกษตรกรที่ลดลง ผู้คนจำนวนมากอพยพเข้าสู่เมือง และอัตราการเจริญพันธุ์ของประชากรก็ต่ำเช่นกัน ซึ่งก็หมายถึงจำนวนประชากรในชนบทน้อยลง

ครับ จากข่าวสารดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า นโยบายทำการเกษตรต้องไม่สุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.eastmojo.com/sikkim/2023/06/25/in-sikkim-the-move-to-organic-is-faltering-heres-why/