โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสถาษิต
รสชาติเป็นสิ่งที่ท้าทายในการกำหนดเป้าหมายเนื่องจากผู้คนต่างมีความชอบที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ แม้ภายใต้เงื่อนไขที่ดีที่สุด คุณภาพของรสชาติยังซับซ้อนกว่าลักษณะผลผลิต ทั้งนี้ Harry Klee ศาสตราจารย์ด้านพืชสวน กล่าวว่า “เราใช้เวลาและเงินจำนวนมากในการหาว่ารสชาติคืออะไร และโครงการปรับปรุงพันธุ์ส่วนใหญ่ไม่มีความสามารถในการตรวจวัดสิ่งเหล่านี้”
ความสนใจในการให้ความสำคัญของรสชาติกำลังเริ่มก่อตัวขึ้น ส่วนหนึ่งต้องขอบคุณเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางพันธุศาสตร์ เช่น เทคนิคการแก้ไขยีน CRISPR และการจัดลำดับดีเอ็นเอ ที่มีราคาถูกพอที่จะใช้งานได้อย่างเสรี Susan Brown นักปรับปรุงพันธุ์แอปเปิลแห่ง Cornell University กล่าวว่า “ไม่มีเวลาไหนเหมาะไปกว่าการเป็นนักปรับปรุงพันธุ์ผลไม้หรือผักในช่วงเวลานี้ เพราะเรามีเครื่องมือและเทคนิคมากมาย”
เกษตรกรผู้ปลูกผักทั้งหมดหวังว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีรสชาติมากขึ้นบนชั้นวางของในร้าน จะโน้มน้าวใจผู้คนให้บริโภคผักและผลไม้ตามปริมาณที่แนะนำ และทำได้ดีกว่าคำแนะนำทางโภชนาการที่มีมาหลายทศวรรษ
Klee ซึ่งเป็นนักวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศกล่าวว่า “อย่าเสียเวลาไปกับการพยายามให้ความรู้ผู้คนให้กินอะไรที่ดีกว่า แค่ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีรสชาติดีกว่าที่พวกเขาอยากกิน”
ครับ เป็นศักยภาพของเทคโนโลยีแก้ไขยีนที่น่าส่งเสริมและสนับสนุน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.scientificamerican.com/article/tweaking-vegetables-genes-could-make-them-tastier-and-youll-get-to-try-them-soon/