การติดตามการเปลี่ยนแปลงจีโนม สามารถช่วยจัดการโรคที่เกิดขึ้นใหม่ในข้าวสาลีได้

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

การติดตามการเปลี่ยนแปลงจีโนมสามารถช่วยจัดการโรคพืชที่เกิดขึ้นใหม่และระบุลักษณะในการพัฒนาพืชที่ต้านทานโรค ผลจากการศึกษาที่ทำโดยนักวิจัยจาก University College London (UCL) และทีมงานนานาชาติจาก 4 ทวีป ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารออนไลน์ PLOS Biology

การศึกษานี้เน้นย้ำถึงภัยคุกคามต่อผลผลิตข้าวสาลีทั่วโลกจากศัตรูพืชและโรคต่าง ๆ ซึ่งสามารถลดลงได้มากกว่าร้อยละ 20 หนึ่งในโรคที่เกิดใหม่ของข้าวสาลีทั่วโลกคือ โรคใบไหม้ของข้าวสาลี (wheat blast) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราที่พบได้ใน 3 ทวีป เพื่อทำความเข้าใจโรคใบไหม้ในข้าวสาลี แหล่งกำเนิดและองค์ประกอบทางพันธุกรรมให้ดียิ่งขึ้น นักวิจัยได้รวมการวิเคราะห์จีโนมและการทดลองในห้องปฏิบัติการ เพื่อพิจารณาถึงความอ่อนแอของพันธุ์ข้าวสาลีต่อเชื้อราโรคใบไหม้ในข้าวสาลี และรวมถึงสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคใบไหม้ในข้าวสาลีด้วย

ทีมวิจัยพบว่าการเกิดขึ้นของโรคใบไหม้ในข้าวสาลีในเอเชียและแอฟริกาเมื่อเร็ว ๆ นี้เกิดจากเชื้อราสายพันธุ์เดียวกับที่มีการระบาดในแซมเบียและบังกลาเทศ และยังพบว่าพันธุ์ข้าวสาลีที่มียีน Rmg8 สามารถต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อราและเชื้อรามีความไวต่อสารสารป้องกันกำจัดเชื้อรา strobilurin

ครับ จากความรู้นี้ ก็จะนำไปสู่การจัดการเพื่อการป้องกันโรคใบไหม้ในข้าวสาลีต่อไป

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ucl.ac.uk/lifesciences-faculty/news/2023/apr/genomic-surveillance-identifies-global-strain-emerging-wheat-disease-fungus