โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
การวิจัยร่วมกันที่นำโดย Burnet Institute ในออสเตรเลีย ได้ใช้การจัดลำดับจีโนมและพันธุวิศวกรรมเพื่ออธิบายว่า สารประกอบที่คัดสรรมาเป็นพิเศษนี้ สามารถป้องกันมาลาเรียจากการเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงได้อย่างไร
ผลการศึกษาซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร PLOS Biology เนื่องในวันมาลาเรียโลกเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2566 ได้สร้างโอกาสและเป้าหมายใหม่สำหรับการพัฒนายาชนิดใหม่เพื่อรักษาโรคมาลาเรียที่จำเป็นมาก ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 619,000 รายทั่วโลกในปี พ.ศ. 2564
ตามข้อมูลของ องค์การอนามัยโลก สารประกอบนี้ ซึ่งเป็นตัวยับยั้งเฉพาะ (specific inhibitor) การเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง ได้รับการจำแนกไว้ในการศึกษาก่อนหน้านี้ ตอนนี้ทีมวิจัยได้ใช้พันธุศาสตร์ย้อนกลับ (reverse genetics) เพื่อค้นหาวิธีที่ยาจับกับ actin ซึ่งเป็นโปรตีนที่มาลาเรียใช้เพื่อทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง เพื่อการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ ซึ่งก่อให้เกิดความเจ็บป่วย
Dr. Madeline Dans ผู้เขียนหลักของรายงานการศึกษา ซึ่งเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกที่ Walter and Eliza Hall Institute กล่าวว่า “เราแสดงให้เห็นว่าสารประกอบนี้ส่งผลต่อ actin ของเชื้อในลักษณะที่ป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง”
ครับ ประโยชนฺของเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมไม่ได้มีเฉพาะในพืชเท่านั้น แต่สามารถใช้ได้ทั้งทางการแพทย์ และปศุสัตว์
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.burnet.edu.au/news/1749_new_insights_into_preventing_malaria