อย.สหรัฐฯ อนุญาตไส้กรอกผลิตจากเนื้อสุกรที่แก้ไขยีนของมหาวิทยาลัยแห่งแรก

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

มหาวิทยาลัยแห่งรัฐวอชิงตัน (Washington State University – WSU) สร้างประวัติศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาด้วยการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ปลดปล่อยเนื้อที่ได้จากสุกรที่ผ่านการแก้ไขยีนเข้าสู่ตลาด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US Food and Drug Administration – FDA) ระบุว่าเนื้อสัตว์ในรูปแบบของไส้กรอกสไตล์เยอรมันนั้นปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์

สุกรของ WSU ได้รับการแก้ไขยีนเพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์ ด้วยการใช้เทคโนโลยี CRISPR กับยีน NANOS2 ที่จะทำให้สุกรตัวผู้เป็นหมัน สเต็มเซลล์ของสุกรตัวผู้อีกตัวที่สามารถสร้างสเปิร์มที่มีลักษณะที่ต้องการได้จะถูกฝังลงในพ่อพันธุ์ ซึ่งสามารถส่งต่อไปยังรุ่นต่อไปได้ กระบวนการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงพันธุ์ขั้นสูงเพื่อผลิตปศุสัตว์ที่มีคุณภาพเนื้อดีขึ้นและเพิ่มความยืดหยุ่นต่อความเครียดและโรคต่าง ๆ

องค์การอาหารและยาได้ตรวจสอบและจำกัดเฉพาะสุกรที่พัฒนาโดย WSU แม้ว่าสุกรที่แก้ไขยีนจะไม่ได้รับการพัฒนาโดยเฉพาะในลักษณะของเนื้อสัตว์ที่พึงประสงค์ แต่เนื้อหมูยังปลอดภัยที่จะกิน WSU นำเนื้อหมูมาทำไส้กรอกและจำหน่ายเพื่อช่วยสมทบทุนค่าเดินทางให้นักศึกษา

การอนุญาตดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสถาบันการศึกษาสามารถได้รับการอนุญาตด้านความปลอดภัยของอาหารจาก องค์การอาหารและยา และมหาวิทยาลัยและหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐบาลกลางสามารถทำงานร่วมกัน เพื่อนำทางเลือกที่ดีกว่ามาสู่การจัดหาอาหาร

ครับ การแก้ไขยีนไม่ได้มีเฉพาะในพืช แต่ก็มีการใช้ในการพัฒนาพันธุ์ปศุสัตว์

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://news.wsu.edu/press-release/2023/05/01/wsu-first-university-to-put-gene-edited-livestock-into-human-food-supply/