การบริโภคเนื้อสัตว์ทดแทนจากพืชช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิจัยจาก University of Warwick ในสหราชอาณาจักร สามารถที่จะสรุปว่า การบริโภคเนื้อสัตว์ทดแทนจากพืชสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลรวม LDL-คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ได้อย่างมีนัยสำคัญ การค้นพบนี้ช่วยสนับสนุนความเป็นประโยชน์อย่างมากของอาหารทดแทนเนื้อสัตว์จากพืชสำหรับผู้คนและสิ่งแวดล้อม

การลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ทั่วโลกได้กระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยหาแหล่งโปรตีนทางเลือกเพื่อรักษาความต้องการของประชากร ในขณะเดียวกันก็พยายามที่จะลดความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เนื้อสัตว์ทางเลือกจากพืชและไมโคโปรตีน (mycoprotein คือ โปรตีนที่ได้จากการหมักบ่มจุลินทรีย์กินได้ หรือจุลินทรีย์เกรดอาหาร และนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ทดแทนเนื้อสัตว์) ได้รับความนิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ยังไม่ชัดเจน

ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขผ่านการทบทวนอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ของการทดลองที่เกี่ยวข้องจำนวน 934 รายการ วัตถุประสงค์ของการศึกษา ก็เพื่อประเมินผลระยะสั้นของอาหารทดแทนเนื้อสัตว์ต่อตัวบ่งชี้ความผิดปกติที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งได้แก่ คอเลสเตอรอลรวม LDL, HDL ไตรกลีเซอไรด์ ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร และน้ำหนักโดยรวม

หลังจากทำการวิเคราะห์แล้ว นักวิจัยพบว่า การบริโภคเนื้อสัตว์ทดแทนมีความสัมพันธ์กับโคเลสเตอรอลรวม LDL และไตรกลีเซอไรด์ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร ความดันโลหิตสูง และน้ำหนักที่ลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ และกับ HDL ที่สูงขึ้น และความดันโลหิตต่ำอย่างไม่มีนัยสำคัญ

ผลลัพธ์ที่ได้สนับสนุนการพัฒนานโยบายเกี่ยวกับอาหารและสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้เนื้อสัตว์ทดแทนเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ครับ เพื่อสุขภาพที่ดี ก็น่าสนับสนุนครับ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mdpi.com/2674-0311/2/1/9