องค์การ ISAAA Inc. ช่วยให้ชาวฟิลิปปินส์ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพที่ผลิตเอง

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ด้วยเป้าหมายในการสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ และการยอมรับผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพในฟิลิปปินส์ องค์การไอซ่าจึงได้ให้การสนับสนุนโครงการ Pinoy Biotek na Tayo (เราคือเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อชาวฟิลิปปินส์) โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการเทคโนโลยีชีวภาพของกระทรวงเกษตร หรือที่เรียกว่าโครงการเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตรและการประมงของฟิลิปปินส์ ร่วมกับสำนักวิจัยการเกษตร (Bureau of Agricultural Research – BAR)

หลังจากดำเนินงานใน ชุดการสัมมนาผ่านเว็บในนาม Pinoy Biotech ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี องค์การไอซ่าจะจัดชุดสัมมนาแบบผสมผสาน (hybrid seminar series) เพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบเกี่ยวกับการพัฒนาล่าสุดในผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพทั้งที่มาจากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่และและที่มาจากเทคโนโลยีดั้งเดิมในประเทศ

นอกจากนี้ ศูนย์ความรู้ระดับโลกด้านเทคโนโลยีชีวภาพขององค์การไอซ่า (ISAAA Global Knowledge Center on Biotechnology) ยังจะจัดทำนิตยสารราย 2 เดือนเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพที่กำลังดำเนินงาน เช่น วิธีการตรวจหาไวรัสในข้าวแบบ Loop-Mediated Isothermal Amplification (LAMP) หัวเชื้อจุลินทรีย์ BioMeg สำหรับมันเทศและมันเทศสีม่วง การชักนำการวางไข่ของ mudfish (ปลาตระกูลปลาตีน) และเทคนิคการวินิจฉัยระดับโมเลกุลแบบพกพาราคาประหยัดสำหรับการตรวจจับเชื้อโรคในสัตว์ปีก (Low-cost Portable Molecular Diagnostic Platform for Rapid Detection of Select Poultry Pathogens – LMDP) อย่างรวดเร็ว

Dr. Rhodora Romero-Aldemita ผู้อำนวยการบริหารของ ISAAA Inc. และหัวหน้าโครงการของ Pinoy Biotek na Tayo กล่าวว่า “องค์การไอซ่า เป็นองค์กรที่สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับข้าวโพดเทคโนชีวภาพ ซึ่งเป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรมชนิดแรกที่ได้รับการอนุญาตในฟิลิปปินส์และเอเชีย เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะช่วยให้ชาวฟิลิปปินส์มีข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพและช่วยให้พวกเขาตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเกี่ยวกับการรับยอมรับและการใช้ประโยชน์  Pinoy Biotech na Tayo จะเป็นผู้เผยแพร่ในเรื่องนี้ เรารู้สึกขอบคุณ DA-Biotech และ DA-BAR สำหรับโอกาสในการมีส่วนร่วมในครั้งนี้”

ครับ การสื่อสารวิทยาศาสตร์ในประเทศฟิลิปปินส์ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ทั้งจากภาครัฐและองค์การไอซ่า ไม่เหมือนประเทศไทย

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ knowledge.center@isaaa.org.