ญี่ปุ่นอนุญาตข้าวโพดข้าวเหนียวที่แก้ไขจีโนม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ (Ministry of Health, Labour, and Welfare) และกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (Ministry of Agriculture, Forestry, and Fisheries) ในญี่ปุ่นให้ไฟเขียวแก่พันธุ์ข้าวโพดที่มีแป้งสูงเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากการแก้ไขจีโนม ชนิดที่ 4 ที่ญี่ปุ่นทำ และไม่ต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับสำหรับอาหารที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม อาหารสัตว์ และความหลากหลายทางชีวภาพ

พันธุ์ข้าวโพดดังกล่าวมีการลบยีนข้าวเหนียวโดยใช้เทคโนโลยี CRISPR-Cas9 เพื่อเพิ่มสัดส่วนแป้งอะมิโลเพคติน (amylopectin) ให้เกือบถึง 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับสัดส่วนอะมิโลเพคตินร้อยละ 75 และสัดส่วนเพคติน ร้อยละ 25 ของข้าวโพดทั่วไป เนื้อสัมผัสที่เหนียวของข้าวโพดข้าวเหนียวทำให้ดึงดูดผู้บริโภคโดยเฉพาะชาวเอเชีย เนื่องจากช่วยเพิ่มความนุ่มนวลลรสมัน (creaminess) ของอาหารและผลิตภัณฑ์จากนม อะมิโลเพคตินยังใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและกระดาษ

ผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากการแก้ไขจีโนมชนิดอื่น ที่รัฐบาลญี่ปุ่นเคยปฏิบัติตามกฎระเบียบของการแก้ไขยีน ได้แก่ มะเขือเทศที่มีสารกาบาสูง ปลาซีบรีม (seabream) ที่ให้ผลผลิตสูง และปลาปักเป้าลายเสือ (tiger pufferfish) ที่เติบโตเร็ว

ครับ ผลิตภัณฑ์จากการแก้ไขยีนในญี่ปุ่น ไม่ต้องผ่านการกำกับดูแลที่เข้มงวดเหมือนการดัดแปลงพันธุกรรม

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://apps.fas.usda.gov/newgainapi/api/Report/DownloadReportByFileName?fileName=Japan%20Gives%20Green%20Light%20to%20Genome%20Edited%20Waxy%20Corn%20Product_Tokyo_Japan_JA2023-0029.pdf