ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรเติบโตอย่างต่อเนื่องในหมู่ชาวฟิลิปปินส์ที่มีส่วนได้เสีย

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษฺต

นักวิจัยจาก College of Development Communication, University of the Philippines Los Baños (CDC-UPLB) ได้ทบทวนการศึกษาที่ดำเนินการในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งมุ่งเน้นการทำความเข้าใจและสื่อสารเกี่ยวกับการรับรู้ของสาธารณชนชาวฟิลิปปินส์ในเรื่องของพืชเทคโนชีวภาพ เกือบ 20 ปีต่อมา นักวิจัยพบว่า ความรู้ในเรื่องนี้มีความก้าวหน้าอย่างมาก เพียงพอที่จะแนะนำผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยีชีวภาพและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพในฟิลิปปินส์

การศึกษาซึ่งนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Dr. Cleofe S. Torres ครอบคลุมพื้นที่มหานครมะนิลาและ 9 จังหวัดทั่วฟิลิปปินส์ ผู้ค้า ผู้บริโภค พนักงานส่งเสริมการเกษตร ผู้นำชุมชนและเกษตรกร นักข่าวและสื่อมวลชน ผู้กำหนดนโยบาย ผู้นำศาสนา นักวิทยาศาสตร์ และนักศึกษามากกว่า 1 พันคนตอบแบบสำรวจที่จัดทำโดยผู้ประสานงานภาคสนามในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของโควิด-19

การค้นพบที่สำคัญของการศึกษา คือ ความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพในฟิลิปปินส์ ยังคงก้าวหน้าต่อไป และผลการศึกษาเบื้องต้นบางส่วนคือ:

  • นักวิทยาศาสตร์เป็นแหล่งข้อมูลด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่น่าเชื่อถือที่สุด ในขณะที่นักข่าวและสื่อเป็นกลุ่มที่มองโลกในแง่ดีมากที่สุด เมื่อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ
  • ประชาชนชาวฟิลิปปินส์ไว้วางใจหน่วยงานรัฐบาล ที่ใช้ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ในการตัดสินใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม
  • ประชาชนมีแนวโน้มที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพมากขึ้น ถ้าเป็นเรื่องที่ตรงตามมุมมองส่วนตัวและสังคม
  • สุขภาพและความปลอดภัยเป็นความกังวลหลักของสาธารณชน
  • สาธารณชนเข้าใจว่า ปัจจุบันมนุษย์สามารถปรับเปลี่ยนธรรมชาติโดยใช้เทคโนโลยีปัจจุบัน และอาหารที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรมมีความปลอดภัยและสามารถจำหน่ายได้ นอกจากนี้ยังเชื่อว่า เทคโนโลยีชีวภาพส่วนใหญ่ใช้เพื่อการเพาะปลูกเป็นอาหารในเชิงพาณิชย์ และใช้น้อยสำหรับการผลิตอาหารสัตว์และผลพลอยได้ทางอุตสาหกรรม
  • ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ทราบถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับสัตว์ และทราบว่าเทคโนโลยีดังกล่าวถูกนำมาใช้ในการพัฒนายารักษาผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม ยังต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้

Dr. Torres และทีมงาน แนะนำให้เชื่อมช่องว่างข้อมูลระหว่างผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจสาธารณะเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพโดย:

  • นำนักวิทยาศาสตร์ลงพื้นที่เพื่ออธิบายเทคโนโลยีชีวภาพแก่ผู้ได้รับประโยชน์ โดยเฉพาะเกษตรกรและผู้บริโภคที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพน้อยที่สุด
  • ใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพสู่สาธารณะ
  • ส่งเสริมการศึกษาสาธารณะเกี่ยวกับไวรัส ยีน และผลกระทบต่อสุขภาพของเทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรม ผ่านการสนับสนุนของรัฐบาลฟิลิปปินส์

การศึกษานี้เป็นความร่วมมือระหว่าง ISAAA Inc., CDC-UPLB และศูนย์บัณฑิตศึกษาและการวิจัยด้านการเกษตรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Regional Center for Graduate Study and Research in Agriculture) โดยได้รับการสนับสนุนจาก โครงการเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรและการประมงของฟิลิปปินส์ของกระทรวงเกษตร (Department of Agriculture’s Philippine Agriculture and Fisheries Biotechnology Program)

ทั้งนี้ Dr. Torres ได้นำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 ที่ศูนย์พัฒนาเศรษฐกิจชนบทและพลังงานหมุนเวียนของ UPLB (UPLB Rural Economic Development and Renewable Energy Center) ในเมือง Los Baños ประเทศฟิลิปปินส์ ทางผู้จัดจะเผยแพร่รายละเอียดการศึกษาฉบับเต็มเร็ว ๆ นี้ หากต้องการรับข้อมูลเพิ่มเติม ให้สมัครรับข่าวสาร Biotech Updatesและติดตามจาก ISAAA.org, Facebook, Twitter และ Instagram

ครับ สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ กำลังวางแผนที่จะทำการสำรวจการรับรู้และความคิดเห็นในเรื่องนี้เหมือนกัน