โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
การศึกษาที่ตีพิมพ์ใน CABI Reviews ได้พิจารณาถึงเทคนิคการแก้ไขยีน และแนะนำว่าวิธี CRISPR-Cas อาจเป็น ‘ผู้กอบกู้’ ที่เป็นไปได้สำหรับข้าว ที่ถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความต้องการอาหารสูง
การทบทวนเน้นย้ำว่า แม้ว่าข้าวจะเป็นหนึ่งในธัญพืชที่มีการบริโภคมากที่สุดทั่วโลกและเลี้ยงผู้คนราว 3 พันล้านคน แต่ความเครียดจากสิ่งไม่มีชีวิตและสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากสภาพอากาศ ได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตและคุณภาพของข้าว
Dr. Antonio Costa de Oliveira จาก Federal University of Pelotas ประเทศบราซิล และทีมเพื่อนนักวิทยาศาสตร์พบว่าเครื่องมือ CRISPR-Cas มีประสิทธิภาพในการแก้ไขยีนในการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับผลผลิต ความทนทานต่อความเครียดจากสิ่งไม่มีชีวิตและสิ่งมีชีวิต และคุณภาพของเมล็ดข้าว
Dr. Costa de Oliveira ยังกล่าวด้วยว่าเครื่องมือทางเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การดัดแปลงพันธุกรรมและการแก้ไขจีโนม สามารถช่วยตอบสนองความต้องการในอนาคต และเสริมว่าพืชที่แก้ไขจีโนมได้รับการยอมรับมากขึ้นเพราะปราศจากการถ่ายฝากยีนแปลกปลอม
ครับ น่าสนับสนุนและส่งเสริม แต่ต้องเร่งทำความเข้าใจกับสาธารณชน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cabidigitallibrary.org/do/10.5555/news-gene-editing-technique-highlighted-as-possible-saviour-for-climate-change-threatened-rice-crops