DBT ของอินเดียให้ทุนวิจัยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแก้ไขจีโนม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

รัฐบาลอินเดียผ่านทาง Department of Biotechnology (DBT) จะให้การสนับสนุนแนวทางการวิจัยเชิงนวัตกรรม สหวิทยาการ และการทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาด้านการเกษตรโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอินเดีย นี่คือความพยายามที่จะเพิ่มศักยภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ซึ่งรวมถึงการแก้ไขจีโนม เพื่อเป็นการส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมโดยเน้นที่ translational research หรือ การวิจัยและพัฒนาในผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีการผลิตใด ๆ ที่เป็นการต่อยอดจากการวิจัยอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน หรือการวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อพัฒนาต่อไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม

DBT ตระหนักดีว่าการแก้ปัญหาด้านการเกษตรอย่างยั่งยืนโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เป็นวิธีการที่สำคัญในการรักษาสวัสดิภาพของสังคมอินเดียโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนยากจน ความคิดริเริ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของอินเดียในการเสริมสร้างการวิจัย นวัตกรรม และการพัฒนาต่อยอดในภาคเกษตร และสนับสนุนภารกิจแห่งชาติเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนของรัฐบาลและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

  • การสร้างศักยภาพของนักวิจัยท้องถิ่นสำหรับการพัฒนาและการใช้นวัตกรรมในการแก้ไขจีโนม
  • การระบุลักษณะและจัดทำเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับยีนที่ควบคุมลักษณะที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและทางการเกษตรของพืช
  • สร้างข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐาน (protocols) ของการแก้ไขจีโนมในพืชที่มีเมล็ดที่งอกยาก (recalcitrant crop) เช่นเดียวกับพืชผักที่ไม่มี DNA จากสิ่งมีชีวิตอื่น และ
  • การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเผยแพร่ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์

ระยะเวลาแสดงเจตจำนงเพื่อยื่นขอทุน เริ่มตั้งแต่วันที่ 21 ถึง 27 กุมภาพันธ์ 2566 ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องส่งข้อเสนอฉบับสมบูรณ์ในเดือนพฤษภาคม 2566 และโครงการที่ประสบความสำเร็จจะได้รับการประเมินเพื่อให้โอกาสในการพัฒนาต่อยอดต่อไป

ครับ จะมีโอกาสที่จะเห็นนโยบายสนับสนุนเช่นเดียวกันนี้ในประเทศไทยไหมหนอ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://dbtindia.gov.in/latest-announcement/call-proposals-%E2%80%98genome-editing-crops-enhanced-attributes%E2%80%99