นักวิจัยเล็งแก้ไขยีนแมลงศัตรูพืชด้วย CRISPR ไม่ให้แพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียไปทำลายพืช

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ไม่ถึงทศวรรษหลังจากตรวจพบครั้งแรกในแคลิฟอร์เนีย แมลงที่รุกรานที่เรียกว่า glassy-winged sharpshooter ซึ่งเป็นแมลงพาหะที่ทำให้พืชเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ได้ทำความเสียหายให้กับพืชทางการเกษตรอย่างรุนแรง

แม้ว่าจะสามารถจำกัดขอบเขตการเข้าทำลายของ glassy-winged sharpshooter ในแคลิฟอร์เนียตอนใต้ ด้วยการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช แต่ก็ไม่สามารถปกป้องการเข้าทำลายพืชได้ และยังมีความเสี่ยงที่จะแย่ลงและยากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

ขณะนี้ นักวิจัยกำลังมองหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เทคโนโลยีนั้น คือ การเปลี่ยนจีโนมของ glassy-winged sharpshooter ไม่ให้แพร่กระจายแบคทีเรียได้อีกต่อไป

ในสหรัฐอเมริกา กฎระเบียบที่เกี่ยวกับแมลงดัดแปลงด้วย CRISPR นั้นกำลัง “พัฒนา” คำแนะนำของรัฐบาลที่เผยแพร่ในปี 2560 สรุปว่า USDA จะมีอำนาจส่วนใหญ่เหนือสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร แต่เขตอำนาจศาลอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าสิ่งมีชีวิตที่แก้ไขนั้นมีวัตถุประสงค์ เพื่อลดจำนวนประชากรของแมลงหรือขัดขวางการแพร่กระจายของโรคหรือไม่

จนถึงขณะนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ อนุญาตให้ปล่อยยุงดัดแปลงพันธุกรรมแล้ว แต่การทดสอบแมลงศัตรูพืช เช่น ผีเสื้อกลางคืนและหนอนเจาะสมอสีชมพูยังมีข้อจำกัดอยู่

ครับ เป็นการชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากกว่าการกำกับดูแล แม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ต้องพูดถึงประเทศที่กำลังพัฒนา

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.technologyreview.com/2023/02/02/1067679/crispr-crops-pests/