สื่อ-การเมือง มีอิทธิพลต่อการยอมรับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นอาหารในยูกันดา

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ทีมผู้เชี่ยวชาญได้สำรวจบทบาทของสื่อ การเมือง อิทธิพลจากต่างประเทศ และวิทยาศาสตร์ ในการนำสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมมาใช้เป็นอาหารในยูกันดา ซึ่งผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า สื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในประเด็นทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร และความคิดเห็นที่สะท้อนกลับมาของผู้ที่มีส่วนสำคัญส่งผลต่อการนำสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมไปใช้ได้อย่างไร

การพิจารณาทางสังคมและวัฒนธรรม มีความสำคัญเมื่อมีการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ เช่น สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ในทำนองเดียวกัน ผู้ที่เกี่ยวข้องหลัก ๆ ในกระบวนการสร้างการยอมรับก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องหลัก ๆ และสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม นักวิจัยจากยูกันดาและแอฟริกาใต้ได้ทำการวิเคราะห์บทความจำนวน 317 เรื่อง ซึ่งตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 2555 ถึง 2558 ในหนังสือพิมพ์รายวัน 2 ฉบับของยูกันดา

โดยเน้นที่การผลิตทางการเกษตร ผลกระทบของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมต่อสิ่งแวดล้อม ความเสี่ยงต่อสุขภาพ และการติดฉลากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม และนักวิจัยยังสัมภาษณ์นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิด้านอาหาร 3 คน นักวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ 4 คน นักข่าววิทยาศาสตร์ 10 คน และสมาชิกคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐสภา 2 คน

การค้นพบของนักวิจัย ระบุว่า การสนับสนุนและการต่อต้านสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ส่งผลกระทบอย่างมากต่อหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศ ทั้งนักเคลื่อนไหวและนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้สื่อเพื่อเรียกร้องให้นักการเมืองออกกฎหมาย ว่าด้วยสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่าย ในความสัมพันธ์ การรับรู้เชิงลบของประชาชนยูกันดาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ได้รับอิทธิพลจากความไม่ไว้วางใจในการปกครองทางการเมือง เนื่องจากความล้มเหลวในอดีตในด้านอื่น ๆ ของการเกษตรตามที่สื่อนำเสนอ

สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของสื่อที่ปลุกสำนึกทางการเมืองในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งสร้างความขัดแย้งให้กับสาธารณชน โดยกระตุ้นให้เกิดความไม่แน่นอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ในทางกลับกัน นักการเมืองยูกันดามักจะใช้การตัดสินใจโดยอิงจากการรับรู้ของสาธารณชนมากกว่าข้อเท็จจริงที่เป็นวิทยาศาสตร์ เพราะกลัวผลกระทบทางการเมืองจากการกระทำของสาธารณชน

การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ากระแสตอบรับระหว่างสื่อ การเมือง อิทธิพลจากต่างประเทศ และวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดความล้มเหลวในการยอมรับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม และภาคการเกษตรของยูกันดาได้รับอิทธิพลจากธรรมาภิบาลมากกว่าประเด็นทางวิทยาศาสตร์อย่างไร

ครับ สถานการณ์การยอมรับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมของยูกันดาไม่ต่างจากสถานการณ์ในประเทศไทยเลย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://jcom.sissa.it/archive/22/01/JCOM_2201_2023_A03