โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
มีหลายประเด็นสำคัญหลายประการ เช่น จะปรับตัวหรือจะอดอาหาร การช่วยประเทศที่ยากจนให้ช่วยเหลือตัวเอง การค้นหาว่าอะไรทำแล้วได้ผลและอะไรต้องทำซ้ำ และได้รับการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีชีวภาพสามารถถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนประเด็นเหล่านั้นได้
เทคโนโลยีชีวภาพในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะลดเวลาการปรับปรุงพันธุ์ การดัดแปลงพันธุกรรมหรือการแก้ไขจีโนม ล้วนเป็นหนทางในการพัฒนาทั้งปริมาณสารอาหารของพืช และความต้านทานต่อความเครียดที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต ต่อความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพิ่มความต้านทานต่อ โรคและแมลงศัตรูพืช ทนแล้ง ทนเค็ม
ความเข้าใจผิดจำนวนมาก มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าผลิตภัณฑ์ดัดแปลงพันธุกรรมจำนวนมากก่อนหน้านี้ ขับเคลื่อนด้วยผลกำไรล้วน ๆ แต่สำหรับข้าวสีทอง ที่ได้รับการพัฒนาโดยสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ กลายเป็นสิ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อผู้อื่นมากขึ้น
การต่อต้านส่วนใหญ่ เป็นเรื่องทางเศรษฐกิจและสังคม มากกว่ามุมมองทางวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกับกรณีของปัญญาประดิษฐ หรือวัคซีน แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนกำลังจะเกิดขึ้นไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตามเมื่อ ก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้เพราะเป็นสิ่งที่โลกต้องการในแง่ของความมั่นคงทางอาหาร ด้านสุขภาพ และในการเตรียมพร้อมรับมือกับโรคระบาด
ครับ เทคโนโลยีชีวภาพแม้จะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลียงได้ในอนาคต ขอให้อยู่บนฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นสำคัญ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tbsnews.net/features/panorama/food-biotechnology-often-becomes-political-issue-rather-policy-issue-551162