CIMMYT แนะการปรับปรุงพันธุ์พืชรุ่นใหม่ต้องให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมด้วย

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

การวิจัยที่ทำโดยศูนย์ปรับปรุงข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติ (International Maize and Wheat Improvement Center – CIMMYT) ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์การปรับปรุงพันธุ์พืชในปัจจุบัน ประสิทธิภาพ และความก้าวหน้าทางพันธุกรรม ทำให้แนวทางการปรับปรุงพันธุ์พืชรุ่นต่อไปมีข้อจำกัด

เป้าหมายในการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากความต้องการพืชที่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องการรอบของการปรับปรุงพันธุ์ที่เร็วขึ้น และต้องขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงพันธุ์ โดยให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นของสภาพอากาศเป็นลำดับความสำคัญสูงสุด การทำเช่นนี้ได้ต้องการการบูรณาการของสาขาวิชาและเทคโนโลยีที่หลากหลาย รวมถึงลักษณะทางพันธุกรรม ลักษณะที่แสดงออก และลักษณะของสภาพแวดล้อมในการปลูกพืช (envirotyping) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและได้รับพันธุ์พืชที่ปรับตัวตามสภาพอากาศในกรอบเวลาที่สั้นลง

Matthew Reynolds นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงและหัวหน้าฝ่ายสรีรวิทยาของข้าวสาลีที่ CIMMYT กล่าวว่า “ความเสี่ยงของความล้มเหลวในการเพาะปลูกหลายครั้ง ที่เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องจริง และถ้าต้องการหลีกเลี่ยงการขึ้นราคาอาหาร ความหิวโหย และความไม่สงบในสังคม การปรับปรุงพันธุ์จะต้องพิจารณาถึงการปรับตัวของพืชร่วมด้วย”

ครับ เป็นการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อให้ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความจำเป็นเร่งด่วน และต้องใช้เวลาอันสั้นในการพัฒนา ซึ่งเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมและการแก้ไขยีน เป็นวิธีที่มีศักยภาพในการแก้ปัญหานี้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1369526622001376?via%3Dihub