ชาวเคนยาจำเป็นต้องหันมาปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อต่อสู้กับภัยแล้ง

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

เคนยากำลังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างหนัก เนื่องจากมีฝนตกในปริมาณที่น้อยกว่าปกติในฤดูฝนติดต่อกันถึง 4 ปี และกำลังเผชิญท่ามกลางความแห้งแล้งครั้งเลวร้ายที่สุด ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกในรอบ 4 ทศวรรษ เป็นเหตุให้ผลผลิตพืชผลลดลงและบ่งบอกถึงความอดอยากที่เกิดขึ้น หนึ่งในวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว คือ การปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนแล้งและต้านทานการเข้าทำลายของศัตรูพืช อย่างไรก็ตาม ยังมีเกษตรกรและกลุ่มรณรงค์บางกลุ่มตั้งคำถามถึงความปลอดภัยในการบริโภค

การห้ามปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมได้ถูกยกเลิกไปแล้วในปีนี้ เนื่องจากรัฐบาลตระหนักถึงความจำเป็นในการรับรองความมั่นคงทางอาหารและปกป้องสิ่งแวดล้อม

Dr. Eliud Kireger ผู้อำนวยการทั่วไปขององค์การวิจัยการเกษตรและปศุสัตว์ของเคนยา กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความรุนแรงของภัยแล้ง และการเกิดศัตรูพืชชนิดใหม่ เช่น หนอนกระทู้ (fall armyworms) และหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด (maize stalk borer) และโรคต่าง ๆ เช่น โรคแห้งตายในข้าวโพด (maize lethal necrosis) เป็นภัยคุกคามที่แท้จริงต่ออาหาร อาหารสัตว์ และความมั่นคงทางโภชนาการ”

ด้วยความจำเป็นอย่างมากในการจัดการกับความมั่นคงทางอาหารและความท้าทายอื่น ๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรจะต้องโน้มน้าวใจให้นำเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์มาใช้ เช่น พืชดัดแปลงพันธุกรรม

ครับ สถานการณ์ในบ้านเราอาจไม่แตกต่างจากเคนยามากนัก เพราะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาครัฐควรจะต้องพิจารณานำพืชดัดแปลงพันธุกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรและประเทศชาติ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://geneticliteracyproject.org/2022/11/15/some-kenyans-eager-to-embrace-gm-crops-to-fight-escalating-drought-but-opposition-remains/?mc_cid=7051208808&mc_eid=f2025e9b8e