การพัฒนาเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงในข้าวด้วยการแก้ไขจีโนม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

วารสารวิทยาศาสตร์ข้าวของจีน (Chinese Journal of Rice Science) ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวแดงเพื่อพัฒนาหน้าที่ของ Rc โดยใช้ CRISPR-Cas9

การพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เพาะปลูกให้เป็นข้าวสีแดงที่มีคุณภาพระดับพรีเมียมและทนทานต่อความเครียดเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่ใช้ข้าวเป็นอาหารหลัก รหัสยีน Rc สำหรับโปรตีนที่มีหน้าที่ในการสะสมของโปรแอนโทไซยานิดิน (proanthocyanidins) ในเยื่อหุ้มเมล็ดชั้นในใต้เปลือก ทำให้มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง

 

ดังนั้น นักวิจัยจึงใช้ CRISPR-Cas9 เพื่อกำหนดเป้าหมาย Rc และพัฒนาข้าวดัดแปลงพันธุกรรมโดยใช้ข้าวพันธุ์ Kongyu 180 และ Shangyu 453 ข้าวดัดแปลงพันธุกรรมทั้ง 2 พันธุ์ แสดงลักษณะข้าวแดงที่ได้รับการพัฒนา ตลอดจนความทนทานต่อดินเค็มด่าง (ดินที่มีองค์ประกอบทั้งที่เป็นด่างในปริมาณที่สามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตของพืช และส่วนที่เป็นเกลือซึ่งสามารถละลายน้ำได้)

ครับ การพัฒนาข้าวสีแดงในปัจจุบันทำได้ไม่ยากด้วย CRISPR-Cas9

อ่านเพิ่มเติมใน http://www.ricesci.cn/EN/10.16819/j.1001-7216.2022.211205