โปรตีน SiMYB30 จากข้าวฟ่างหางกระรอกให้ความทนทานต่อความเครียดไนโตรเจนต่ำ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

เกษตรกรทั่วโลกใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อเพิ่มผลผลิต แต่การใช้มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนในการเพาะปลูก จึงมีความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตและการปกป้องสิ่งแวดล้อม

ข้าวฟ่างหางกระรอก (Foxtail millet – Setaria italica L.) เป็นหนึ่งในพืชต้นแบบที่ใช้ในการศึกษาการต้านทานความเครียดจากสิ่งไม่มีชีวิตในพืช อย่างไรก็ตาม กลไกระดับโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนในข้าวฟ่างหางกระรอกยังคงเข้าใจยาก สิ่งนี้ทำให้ทีมนักวิจัยประเมินบทบาทของ SiMYB30 ซึ่งเป็นปัจจัย (โปรตีน) การถอดรหัส (transcription factor) จากข้าวฟ่างหางกระรอก ในการควบคุมประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนในข้าวดัดแปลงพันธุกรรม

ผลการวิจัยพบว่าข้าวที่มีโปรตีน SiMYB30 จะแสดงออก โดยช่วยเพิ่มน้ำหนักสดต้นอ่อน น้ำหนักแห้งต้นอ่อน และความสูงของต้นในระยะต้นกล้า ภายใต้การให้ไนโตรเจนต่ำในโรงเรือนอย่างมีนัยสำคัญ ยิ่งไปกว่านั้น การแสดงออกของโปรตีน SiMYB30 ในการทดลองภาคสนาม ทำให้ปริมาณไนโตรเจนในเมล็ดข้าวและผลผลิตต่อต้นของข้าวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และโปรตีน SiMYB30 ยังกระตุ้นการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการดูดซับไนโตรเจน

ครับ การศึกษานี้เป็นการเน้นให้เห็นถึงบทบาทของโปรตีน SiMYB30 ในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนของพืช

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=4239151