นักวิทยาศาสตร์ค้นพบกลไกการหลีกเลี่ยงความเค็มของพืช

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (University of Copenhagen) ประเทศเดนมาร์คได้ค้นพบว่า พืชสามารถเปลี่ยนทิศทางของรากและเจริญเติบโตห่างจากบริเวณที่มีความเค็มได้ การค้นพบนี้ได้เปลี่ยนความเข้าใจในปัจจุบันที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปร่างและทิศทางการเจริญเติบโตของพืช และอาจช่วยบรรเทาปัญหาความเค็มของดินในระดับโลกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้

ศาสตราจารย์ Staffan Persson จาก Department of Plant and Environmental Sciences แห่งมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน กล่าวว่า โลกต้องการพืชที่สามารถทนต่อความเค็มได้มากขึ้น และพืชที่สามารถทำให้รากเจริญเติบโตหนีออกจากจุดที่ดินเค็มได้ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนนักว่ากลไกนี้ทำงานอย่างไร ศาสตราจารย์ Persson และเพื่อนร่วมงานวิจัย ได้ค้นพบว่าเกิดอะไรขึ้นภายในพืชในระดับเซลล์และโมเลกุล เมื่อรากต้องเจริญเติบโตหนีออกจากความเค็ม กลุ่มวิจัยได้ค้นพบว่าเมื่อพืชสัมผัสได้ถึงความเค็ม ฮอร์โมนความเครียดแอบไซซิกแอซิด (abscisic acid – ABA) จะถูกกระตุ้น ทำให้เกิดกลไกตอบสนอง

ศาสตราจารย์ Persson อธิบายว่า พืชมีฮอร์โมนความเครียดที่ถูกระตุ้นจากความเค็ม ฮอร์โมนนี้ทำให้เกิดการจัดระเบียบใหม่ของหลอดโปรตีนขนาดเล็กในเซลล์ (tiny protein-based tubes) ที่เรียกว่า cytoskeleton เป็นการปรับโครงสร้างใหม่ โดยจะทำให้เส้นใยเซลลูโลสรอบ ๆ เซลล์รากสร้างการจัดเรียงใหม่ที่คล้ายกัน บังคับให้รากบิดตัวในลักษณะที่เจริญเติบโตหนีห่างจากความเค็ม นักวิจัยได้สร้างการกลายพันธุ์ของกรดอะมิโนตัวเดียวในโปรตีนที่ขับเคลื่อนการบิดของราก ทำให้พืชไม่สามารถเติบโตจากเกลือได้

ครับ เป็นการศึกษาเชิงลึก เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกลไกการหนีห่างความเค็มในดินของรากพืช ซึ่งอาจนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาพืชทนเค็มในอนาคต

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://news.ku.dk/all_news/2022/11/now-we-know-how-plants-steer-clear-of-salt/