โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency – IAEA) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization – FAO) ได้ส่งเมล็ดพันธุ์สู่อวกาศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความคิดริเริ่มในการพัฒนาพืช ที่สามารถทนต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เมล็ด Arabidopsis (พืชต้นแบบ) และเมล็ดข้าวฟ่าง ได้ถูกนำส่งไปยังสถานีอวกาศนานาชาติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ในเวลาเดียวกับที่บรรดาผู้นำได้พบกันในการประชุม COP 27 ของ UN Climate Change Conference ในเมือง Sharm El Sheikh ประเทศอียิปต์ เพื่อจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงการจัดการผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อระบบอาหารทางการเกษตร
QU Dongyu ผู้อำนวยการทั่วไปของ FAO กล่าวว่า “เกษตรกรรายย่อยหลายล้านรายของโลกต้องการเมล็ดพันธุ์ที่ยืดหยุ่นและมีคุณภาพสูงอย่างเร่งด่วน ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพการปลูกที่ท้าทายมากขึ้นเรื่อย ๆ และ นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ เช่น การปรับปรุงพันธุ์ในอวกาศของพันธุ์พืชที่ผ่านการปรับปรุงมาบ้างแล้ว จะสามารถช่วยปูทางไปสู่อนาคตที่สดใสที่ดีขึ้นในด้านการผลิต โภชนาการ สภาพแวดล้อม และชีวิต”
เมล็ดจะถูกนำไปไว้ภายในและภายนอกสถานีอวกาศนานาชาติเป็นเวลาประมาณสามเดือน และจะนำกลับสู่โลกเพื่อเพาะปลูก จากนั้นจะทำการประเมินลักษณะที่เป็นประโยชน์ เพื่อทำความเข้าใจในการกลายพันธุ์ในอวกาศและระบุสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(ครับ เป็นเรื่องที่น่าสนใจและติดตาม)
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.fao.org/newsroom/detail/iaea-and-fao-send-seeds-to-international-space-station/en