โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
การทดสอบภาคสนามที่ทำขึ้นในมณฑลกวางสีในประเทศจีน แสดงให้เห็นว่า พันธุ์อ้อยที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยกวางสี (Guangxi University) มีความทนแล้งอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผลการทดสอบพันธุ์อ้อยดังกล่าว พบว่ามีความสามารถในการกักเก็บน้ำที่เพิ่มขึ้นและมีความเสียหายลดลง โดยไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตของอ้อย
Tripidium arundinaceum dehydration-responsive element-binding transcription factor (TaDREB2B) (ได้มาจากแขม) ที่อยู่เบื้องหลังโปรโมเตอร์ RD29A ที่รับผิดชอบต่อภัยแล้ง ได้รับการถ่ายฝากให้กับอ้อยพันธุ์ FN95-1702 ที่ปลูกเป็นการค้า ได้ถูกนำมาปลูกทดสอบเพื่อประเมินความทนแล้งและลักษณะทางการเกษตรต่าง ๆ ก่อนดำเนินการทดสอบภาคสนามปกติ
พันธุ์อ้อยดัดแปลงพันธุกรรมแสดงให้เห็นว่า มีการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัดในประสิทธิภาพผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรที่ดีภายใต้การทดสอบภาคสนามในสภาวะการให้น้ำจำกัด ผลการศึกษาพบว่า พันธุ์อ้อยดังกล่าวมีผลผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41.9 และจำนวนต้นกล้าในแปลงอ้อยตอที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.4
นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณซูโครสไม่ลดลง รวมถึงความบริสุทธิ์ และลักษณะคุณภาพที่สำคัญอื่น ๆ กล่าวโดยรวมได้ว่า การผสมผสานระหว่าง โปรโมเตอร์-ทรานส์ยีน Prd29A-TaDREB2B ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องมือเทคโนโลยีชีวภาพที่มีประโยชน์ในการเพิ่มความทนแล้งของอ้อย
ครับ ในขณะที่หลายประเทศได้ใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่มาช่วยในการปรับปรุงพันธุ์พืช ประเทศไทยยังไม่ก้าวข้ามวิธีการเดิม ๆ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpls.2022.963377/full