การแก้ไขยีนเป้าหมายให้ต้นข้าวต้านทานต่อโรคใบไหม้ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทมิฬนาฑู (Tamil Nadu Agricultural University) ประเทศอินเดียได้ใช้ CRISPR เพื่อแก้ไขยีนเป้าหมาย OsSWEET13 ซึ่งเป็นยีนที่อ่อนแอต่อโรคใบไหม้ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย(bacterial leaf blight – BLB) ในข้าว ผลการวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Electronic Journal of PlantBreeding

BLB ทำให้เกิดการสูญเสียผลผลิตอย่างรุนแรงในทุกพื้นที่ที่ปลูกข้าว เชื้อก่อโรคคือ Xanthomonas oryzaepv. oryzae (Xoo) จะสร้าง transcription activator-like effector (TALE) molecules (เป็นโปรตีนที่สร้างและใช้โดยแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคพืชเพื่อควบคุมยีนของพืชในระหว่างการติดเชื้อ)ที่จับกับ effector binding element (EBE) ของโปรโมเตอร์ของยีน SWEETเพื่อกระตุ้นการถอดรหัสของยีนดังกล่าวและทำให้พืชไวต่อโรค

นักวิจัยพยายามที่จะสร้างความต้านทาน BLB ในข้าว โดยระงับการส่งสัญญาณที่กระตุ้นด้วย TALE ผ่าน CRISPR-Cas9 การเปลี่ยนแปลงที่อาศัย Agrobacterium ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นอิสระ 4 กรณี (events) ข้าว 5 ต้นที่เป็นตัวแทนของ 3 กรณี แสดงการลบนิวคลีโอไทด์หนึ่งครั้งในลำดับเป้าหมายซึ่งอาจจำกัดการจับของ TALE ที่สอดคล้องกันและให้ความต้านทานต่อ BLB

ครับ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่ายในการแก้ไขยีนที่อ่อนแอให้กลับมาต้านทาน ด้วยเทคโนโลยี CRISPR

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ejplantbreeding.org/index.php/EJPB/article/view/4431