ฟิลิปปินส์อนุญาตปลูกมะเขือม่วงบีทีต้านทานหนอนเจาะเพื่อการค้า

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

สำนักอุตสาหกรรมพืช กระทรวงเกษตร ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines' Department of Agriculture Bureau of Plant Industry (DA-BPI))  ได้อนุญาตให้ปลูกมะเขือม่วงบีทีที่ต้านทานแมลงศัตรูในเชิงพาณิชย์ได้ในประเทศ “ใบอนุญาตด้านความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการขยายพันธุ์เชิงพาณิชย์ของมะเขือม่วงบีที (Event EE-1)” ได้ออกให้กับ University of the Philippines Los Baños (UPLB) เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นไปตาม DOST-DA-DENR-DOH-DILG Joint Department Circular (JDC) No. 1, Series of 2021

จากการอนุญาตครั้งนี้ฟิลิปปินส์จึงกลายเป็นประเทศที่ 2 ในโลก 9jv จากบังคลาเทศที่อนุญาตให้มีการขยายพันธุ์ในเชิงพาณิชย์ของมะเขือม่วงบีทีต้านทานหนอนเจาะ ซึ่งการอนุญาตนี้เกิดขึ้นหลังจากได้ทำการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างเข้มงวดและครอบคลุมที่ดำเนินการโดยกลุ่มการประเมินร่วม (Joint Assessment Group)ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากคณะกรรมการผู้มีอำนาจแห่งชาติ – คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพและการรับรอง

กรณี (Event) EE-1 ว่าเป็นผู้ปกป้องที่รวมเข้าไว้ในต้นพืช (Plant Incorporated Protectant) (กลุ่ม11A สารป้องกันกำจัดแมลง) โดย หน่วยงานด้านปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชก่อนที่จะอนุญาตสำหรับการขยายพันธุ์เชิงพาณิชย์ DA-BPI ได้อนุญาตมะเขือม่วงบีทีสำหรับใช้เป็นอาหารอาหารสัตว์ หรือการแปรรูป (21-078FFP) เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เพื่อยืนยันความปลอดภัยในการบริโภคมะเขือม่วงบีทีเป็นพืชที่ต้านทานแมลง มีโปรตีนธรรมชาติจากแบคทีเรียในดินที่ชื่อ Bacillus thuringiensis(Bt) ที่ทำให้ต้านทานต่อหนอนเจาะหน่อและผลมะเขือม่วง (eggplant fruit and shoot borer – EFSB) เป็นแมลงศัตรูพืชที่เข้าทำลายอย่างรุนแรง

โปรตีนบีทีนี้มีความเฉพาะเจาะจงสูงสำหรับ EFSBและปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และแมลงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เป้าหมาย หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่ามะเขือม่วงบีทีมีความปลอดภัย ไม่เพียงแต่สำหรับการบริโภคแต่ยังต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

การศึกษาในฟิลิปปินส์ในปี 2559 เกี่ยวกับผลกระทบของมะเขือม่วงบีทีต่อแมลงที่ไม่ใช่เป้าหมายเปิดเผยว่ามะเขือม่วง กรณี EE-1ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในสภาพแปลงเปิด เมื่อเทียบกับมะเขือม่วงที่ไม่ใช่บีที การศึกษายังชี้ให้เห็นว่ามะเขือม่วงบีทีสามารถใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรแกรมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ EFSB

ในขณะที่การพึ่งพาสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสามารถลดลงได้อย่างมากก่อนหน้านี้มีการศึกษา ex-ante socio-economic studies(การวิเคราะห์สิ่งที่ยังไม่เกิดหรือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยหวังว่าผลที่ได้จากการวิเคราะห์จะช่วยให้การตัดสินทำอะไรบางอย่าง หรือการดำเนินนโยบายบางนโยบายมีความรอบคอบหรือมองปัจจัยต่าง ๆ รอบด้านขึ้น ไม่ผิดพลาดเลยหรือผิดพลาดน้อยที่สุดและจะมีโอกาสประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้มากขึ้น)ที่ดำเนินการในฟิลิปปินส์ประมาณการว่าการปลูกมะเขือม่วงบีทีจะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง

ท้ายที่สุดจะนำไปสู่รายได้สุทธิที่เพิ่มขึ้นถึงสามเท่าเนื่องจากผลกระทบจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญและการเพิ่มขึ้นของผลผลิตที่ออกสู่ตลาด

ครับ เป็นที่น่ายินดีสำหรับประเทศฟิลิปปินส์ที่มีความก้าวหน้าในการอนุญาตการใช้ประโยชน์จากพืชดัดแปลงพันธุกรรมอย่างต่อเนื่อง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://cafs.uplb.edu.ph/bt_news/philippine-govt-approves-bt-eggplant-for-commercial-cultivation/?fbclid=IwAR27wJaeiEFEPTnFkJWc3-waXuk9OVY01DWkEhCRTZcyB_vtmogBaCnyx_A