โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
GM Crops & Food ได้ตีพิมพ์บทความที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญและเผยแพร่ออนไลน์จำนวน 3 บทความเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของพืชดัดแปลงพันธุกรรมตั้งแต่ปี 2539 ถึง 2563 บทความวิจัยเหล่านี้เขียนโดย Graham Brookes นักเศรษฐศาสตร์เกษตรและผู้อำนวยการ PG Economics
บทความฉบับแรก กล่าวถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั่วโลกของพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีความทนทานต่อสารกำจัดวัชพืชและต้านทานแมลงศัตรู เป็นเทคโนโลยีชั้นนำที่ส่งผลกระทบต่อการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้อย่างแพร่หลายมากกว่า 24 ปี ทำให้การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชลดลง 748.6 ล้านกิโลกรัม (−7.2%) ของสารออกฤทธิ์ การลดลงนี้นำไปสู่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ลดลงที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูและสารกำจัดวัชพืชในการผลิตพืชเหล่านี้ (ตามข้อมูลจากตัวชี้วัด คือ Environmental Impact Quotient) อย่างมีนัยสำคัญซึ่งมากถึงร้อยละ17.3 ระหว่างปี 2539 ถึง 2563
พืชดัดแปลงพันธุกรรมยังช่วยลดการปล่อยคาร์บอนอีกด้วย การนำพืชดัดแปลงพันธุกรรมมาใช้อย่างแพร่หลายทำให้การใช้เชื้อเพลิงในพื้นที่เพาะปลูกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และช่วยให้เกษตรกรเปลี่ยนจากระบบไถพรวนไปเป็นระบบลดหรือไม่ต้องไถพรวน ในปี 2563การลดการปล่อยคาร์บอนโดยประมาณนั้นเทียบเท่ากับการนำรถยนต์ 15.6 ล้านคันออกจากถนนในปีนั้น
นอกเหนือจากประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว Brookes ยังรายงานผลกระทบทางเศรษฐกิจของพืชดัดแปลงพันธุกรรมอีกด้วย โดยรายได้เกษตรกรผู้ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 261.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากปี 2539 ถึง ปี 2563 ซึ่งเทียบเท่ากับรายได้จากการผลิตพืชเฉลี่ย 112 เหรียญสหรัฐต่อเฮกตาร์ รายได้ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ ร้อยละ 72 มาจากการเพิ่มผลผลิต ในขณะที่อีกร้อยละ28 ที่เหลือมาจากการประหยัดต้นทุน
ครับ ประโยชน์จากการเพาะปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมมีมากดังการวิเคราะห์นี้ ผู้มีอำนาจของประเทศไทยจะรู้ไหม
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของพืชดัดแปลงพันธุกรรมต่อการใช้สารกำจัดศัตรูพืช (https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/21645698.2022.2118497) การปล่อยคาร์บอน (https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/21645698.2022.2118495) และรายได้จากการเพาะปลูกพืชดัดแปลงพันนธุกรรม(https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/21645698.2022.2105626)