นักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์ ค้นพบความหวังที่จะให้พืชทนต่อความแห้งแล้ง

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ความแห้งแล้งและพายุฝนที่รุนแรงส่งผลกระทบต่อการผลิตพืช ซึ่งในช่วงเวลานี้ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore- NUS) ได้ค้นพบวิธีที่พืชควบคุมการพัฒนาปากใบเพื่อลดการสูญเสียน้ำภายใต้สภาวะแล้ง

ในระหว่างการขาดแคลนน้ำ พืชจะมีปฏิกิริยาที่ปากใบ 2 อย่าง อย่างแรกคือ จำกัดการเติบโตของปากใบใหม่และอย่างที่สองคือ การปิดปากใบที่มีอยู่ กรดแอบไซซิก(abscisic acid) ซึ่งเป็นไฟโตฮอร์โมน(phytohormone คือ สารเคมีที่พืชสร้างขึ้นในปริมาณเพียงเล็กน้อย และ มีผลต่อกระบวนการ หรือ ควบคุมการเจริญในพืช )จะควบคุมปฏิกิริยาเหล่านี้ (ABA)

เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปรับตัวต่อความแห้งแล้งของพืช และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิตพืชเมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนว่า ABA จะลดการสร้างปากใบได้อย่างไร

กลุ่มนักวิจัยจากภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่ NUS ภายใต้การดูแลของผู้ช่วยศาสตราจารย์ LAU On Sun พบว่าตัวควบคุมปากใบที่สำคัญคือ SPEECHLESS (SPCH) ถูกฟอสโฟรีเลต (phosphorylate คือ การติดหมู่ฟอสฟอริล (phosphoryl group) เข้าไปในโมเลกุลนั้น ๆ) โดยตรงโดยไคเนสหลัก(kinases เป็นเอนไซม์ไคเนสที่ทำหน้าที่ปรับแต่งโปรตีนอื่น

โดยการเติมหมู่ฟอสเฟตในเชิงเคมี (ฟอสฟอริเลชั่น))ซึ่งเป็นสัญญาณของABA ที่ทำงานในช่วงฤดูแล้ง ABA phosphorylates จะเติมหมู่ฟอสเฟตให้กับโปรตีน SPCH ในสองตำแหน่งที่แตกต่างกัน ทำให้ SPCH เสื่อมสภาพ

Prof. Lau กล่าวว่า “ผลที่ได้จากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ‘รหัส’ เฉพาะนี้ จะรองรับการตอบสนองต่อการอนุรักษ์น้ำของพืชที่สำคัญ สิ่งนี้น่าตื่นเต้นเพราะแสดงให้เห็นว่าการจัดการรหัส จะเพิ่มประสิทธิภาพพืชในสภาพการปลูกที่หลากหลาย ตั้งแต่การปลูกแบบปกติไปจนถึงการทำปลูกในเมือง และปรับแต่งความทนทานต่อความแห้งแล้ง”

ครับ เป็นความพยายามของนักวิจัยที่จะหาแนวทางในการปลูกพืชในสภาวะแห้งแล้ง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.natureworldnews.com/articles/53592/20221011/scientists-aims-to-find-out-how-other-plants-are-able-to-survive-drought.htm