ช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของเคนยาเมื่อรัฐบาลยกเลิกการห้ามสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

  •  
  •  
  •  
  •  

วันนี้ขอพูดถึงเรื่องที่รัฐบาลของเคนยายกเลิกการห้ามสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมอีกครั้งหนึ่ง คือการสั่งห้ามสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในเคนยาที่มีมานานได้รับการยกเลิกไปในที่สุด นับเป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ในการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรของประเทศ

รัฐบาลเคนยาผ่านการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี ได้ยกเลิกการสั่งห้ามเพื่อให้มีการนำพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ได้รับอนุญาตและให้มีการนำเข้าอาหารดัดแปลงพันธุกรรมมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การยกเลิกการห้ามในครั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้อนุญาตให้ทำการเพาะปลูกในสภาพแปลงเปิดและให้นำเข้าข้าวโพดขาวดัดแปลงพันธุกรรม

ในการตัดสินใจที่จะยกเลิกการห้านนี้ คณะรัฐมนตรีได้พิจารณารายงานของผู้เชี่ยวชาญและรายงานทางเทคนิคต่างๆ เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ รวมถึงรายงานจากหน่วยงานความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติของเคนยา (Kenya’s National Biosafety Authority – NBA) องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การอาหารและการเกษตร (FAO) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งอเมริกา (FDA) และ European Food Safety Authority (EFSA)

คำแนะนำดังกล่าวยังแจ้งถึงการยกเลิกการสั่งห้ามของคณะทำงานที่แต่งตั้งให้ตรวจสอบเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาหารดัดแปลงพันธุกรรมและความปลอดภัยของอาหารเหล่านั้น รัฐบาลจึงได้ดำเนินการ “ตามแนวทางของ National Biosafety Authority ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงพิธีสารคาร์ตาเฮน่าว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ(Cartagena Protocol on Biosafety – CPB)”

ทั้งนี้เพื่อยกเลิกการตัดสินใจก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 ที่ “ห้ามการเพาะปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมในสภาพแปลงเปิดและการนำเข้าพืชอาหารและอาหารสัตว์ที่ผลิตด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ”

คณะรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อเดือนธันวาคม 2562 รัฐบาลได้อนุญาตให้มีการค้าฝ้ายบีทีเพื่อพยายามฟื้นฟูอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม อาหารสัตว์ และอุตสาหกรรมน้ำมันและการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีในวันนี้ก็ต่อยอดและขยายประโยชน์ไปยังภาคเกษตรกรรมและการผลิตอื่นๆ ด้วย

การพัฒนาที่สำคัญนี้เป็นการประกาศรุ่งอรุณครั้งใหม่ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืช รัฐบาลให้การสนับสนุนพืชดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่เปิดกว้างขึ้นในการปรับปรุงการเกษตรและปรับปรุงความมั่นคงด้านอาหารเมื่อเผชิญกับภัยแล้งและผลกระทบอื่นๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ครับ รอว่าเมื่อไหร่ประเทศไทยจะมีการตัดสินใจเช่นนี้บ้าง

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตัดสินใจครั้งสำคัญนี้ โปรดติดต่อ Dr. Margaret Karembu, MBS ที่ mkarembu@isaaa.org